สผ.ขู่สยามพารากอน1เดือนแก้ไขน้ำเสียตู้ปลา
โอเชียนเวิลด์สยามพารากอนยอมให้เจนโก้บำบัดน้ำเกลือจากตู้ปลา แต่ยังพบน้ำเสียเกินมาตรฐาน ให้เวลา 1 เดือนปรับปรุง ส่วนนักรบสิ่งแวดล้อมลุยตรวจน้ำเสียโรงงานภาคอีสาน พบโรงงานยังปล่อยน้ำเสียเรี่ยราดอื้อ
(2มี.ค.) นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวด ล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า หลังจากมีข่าว ว่าทางพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำสยามโอเชี่ยนเวิลด์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ปล่อยน้ำเสียที่มีค่าความ สกปรกสูงถึง 130 มล.ก./ลิตร จากค่ามาตรฐาน 20 มล.ก./ลิตร เนื่องจากปนเปื้อนด้วยน้ำเค็มที่มีความ เค็มสูงกว่าน้ำทะเลถึง 3 เท่าลงไปในคลองแสนแสบนั้น เมื่อวันที่ 17 ก.พ.ที่ผ่านมาทาง สผ. ร่วมกับกรม ควบคุมมลพิษ (คพ.) สำนักงานเขตปทุมวัน และผู้แทนคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้เข้าไปตรวจ สอบและหาแนวทางแก้ไขร่วมกับผู้แทนจากศูนย์การค้าสยามพารากอน ได้ข้อสรุปว่า เนื่องจากที่ผ่าน มาทางพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำฯ ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำจากอะควาเรียม ซึ่งเป็นน้ำเกลือเฉลี่ย 2 สัปดาห์ประมาณ 5,000 ลิตร โดยต่อท่อจากตู้ปลาทิ้งลงบ่อบำบัดน้ำเสียรวมของศูนย์การค้า จึงทำให้ระบบบำบัดเกิด ปัญหาขึ้น
นายสนธิ กล่าวว่า สำหรับการแก้ปัญหาระยะสั้นสรุปว่าทางศูนย์การค้าฯจะตัดท่อน้ำทิ้งจากอะควอเรียม ออกจากระบบรวม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ส่วนน้ำเกลือที่ต้องถ่ายทิ้งจะให้เจนโก้รับไปบำบัด ซึ่งเท่าที่ ทราบยังอยู่ระหว่างการตกลงราคากัน อย่างไรก็ตาม ส่วนผลการตรวจคุณภาพน้ำล่าสุดก็พบว่ายังมีค่า
ความสกปรกเกินมาตรฐานเล็กน้อยประมาณ 30 มล.ก./ลิตร ซึ่งถือว่าไม่น่าเป็นห่วงถ้าเทียบกับช่วง แรกๆ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารยังไม่สมบูรณ์ เพราะยังสร้างไม่เต็ม ระบบ ทั้งการตรวจสอบพบว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีไขมันลงไปในบ่อบำบัดค่อนข้างเยอะซึ่งสผ.ได้แนะนำ ให้มีบ่อดักไขมันจากศูนย์อาหารก่อนปล่อยน้ำเสียลงไปบำบัด และทางศูนย์การค้าฯได้รับปากว่าจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยสผ.จะให้เวลา 1 เดือนในการปรับปรุงแก้ไข ก่อนจะไปตรวจสอบตาม มาตรการที่ตกลงกันไว้อีกครั้ง
ด้านนายธวัช ปทุมพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 จังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า จากการ ดำเนินโครงการนักรบสิ่งแวดล้อม โดยมอบหมายให้นักศึกษาจาก 5 สถาบันการศึกษาในพื้นที่ คือ มหา วิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี สกลนคร เลย ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติสกลนคร เข้าไป สำรวจการปล่อยน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม เป้าหมาย 1,295 แห่งในจังหวัด เลย หนองคาย สกลนคร นครพนม และอุดรธานี ทั้งนี้นักศึกษาสามารถเข้าไปสำรวจได้ 1,245 โรงงงาน ซึ่งในจำนวนนี้ มี 124 แห่งที่ถูกร้องเรียนเรื่องมลพิษทางน้ำแต่สามารถเข้าไปเก็บตัวอย่างได้แค่ 26 แห่ง อย่างไรก็ ตาม จากการนำตัวอย่างน้ำทิ้งไปวิเคราะห์ก็พบว่า 24 แห่งคุณภาพน้ำเกินมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ส่วน โรงงานที่ไปเก็บตัวอย่างน้ำไม่ได้ เช่นโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาล และอีกหลายแห่งที่ปล่อยน้ำทิ้งไหลซึม ไปตามพื้นดินโดยไม่มีระบบำบัด หาปลายท่อไม่เจอ หรือบางโรงปล่อยน้ำทิ้งลงท่อระบายน้ำสาธารณะ เป็นต้น