ดูไบสร้างพีระมิดกระจก ล้ำสมัย-จุคนได้กว่าล้าน!

ผลงานด้านสถาปัตยกรรมของชนเผ่ามายาและอียิปต์โบราณเป็นที่เลื่องลือของโลก แต่คนโบราณเหล่านี้อาจนึกไม่ถึง

ว่า สถาปัตยกรรมอย่าง "พีระมิด" จะกลายเป็นรูปแบบของการก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสมัยใหม่ ซึ่งอาคารนี้จะสร้างขึ้นที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แหล่งรวมอาคารแปลกและอลังการแห่งหนึ่งของโลก พีระมิดกระจกที่ว่านี้มีชื่อว่า "ซิกกูรัต" จะสร้างบนพื้นที่ 2.3 ตารางกิโลเมตร และเป็นแหล่งรวมที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนได้ถึง 1 ล้านคน! ไม่พึ่งพาพลังงานจากภายนอกแต่เพียงอย่างเดียว เพราะภายในมีการนำพลังงานจากไอน้ำ ลมและแหล่งธรรมชาติอื่นๆ มาใช้ การคมนาคมขนส่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ ทั้งการขนส่งผู้คนทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมจากยุโรป มีความเห็นว่า โครงการอย่าง "ซิกกูรัต" สามารถดัดแปลงเป็นโครงการใหญ่ๆ กว่านี้ได้

"ซิกกูรัต" เป็นพีระมิดแบบขั้นบันไดโบราณตั้งแต่ 2-7 ชั้น ของชาวสุเมเรียน ชาวบาบิโลเนียน ชาวอัสซีเรียน แห่งอารยธรรมเมโสโปเตเมีย รวมทั้งอิหร่าน

ด้านนอกทำเป็นระเบียงและบันไดวน อีกอย่างที่ "ซิกกูรัต" แตกต่างจาก "พีระมิดอียิปต์" คือ "ซิกกูรัต" เป็นพีระมิดหัวตัด ขณะที่ "พีระมิดอียิปต์" เป็นพีระมิดหัวแหลม นอกจากนี้ โครงสร้างหลักของ "ซิกกูรัต" ยังเป็นอิฐตากแห้ง ขณะที่อิฐที่เรียงภายนอก เป็นอิฐเผาไฟ เมื่อมองไปจะเห็นว่า "ซิกกูรัต" มีหลายสี และอาจบ่งบอกถึงความเกี่ยวข้องด้านดาราศาสตร์ สำหรับ "ซิกกูรัต" ที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น เกรตซิกกูรัตแห่งอูร์ และคอร์ซาบัดในเมโสโปเตเมีย "ซิกกูรัต" ไม่ใช่สถานที่ประกอบพิธีกรรม ไม่ใช่สุสาน แต่เป็นที่อยู่ของเทพเจ้าตามความเชื่อของชาวเมโสโปเตเมีย

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์