ปลามีประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงย่อยง่าย ช่วยพัฒนาระบบประสาทในเด็ก และทารกในครรภ์ ไม่มีไขมันที่อันตรายต่อหัวใจ มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และป้องกันโรคความจำเสื่อม
จัดเครือข่ายคนไทยไร้พุง ตอน "กินปลาช่วยชาติ เงินหดน้อย พุงไม่มา โรคร้ายไม่มี" เปิดเผยว่า ปลาอยู่ในกลุ่ม 3 อาหารหลักเพื่อสุขภาพ ที่ควรบริโภค คือ ข้างกล้อง ผักพื้นบ้าน และปลา แม้จะทราบดีว่า ปลามีประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงย่อยง่าย ช่วยพัฒนาระบบประสาทในเด็ก และทารกในครรภ์ ไม่มีไขมันที่อันตรายต่อหัวใจ แต่คนไทยยังบริโภคปลาน้อย เพียง 32 กก.ต่อคนต่อปี ขณะที่สหรัฐบริโภคปลา 50 กก.ต่อคนต่อปี ญี่ปุ่นบริโภค 69 กก.ต่อคนต่อปี ทิ้งห่างญี่ปุ่นเท่าตัว ปลานิลคนไทยกินเยอะที่สุด ส่งออกสูงสุด คนอีสานแชมป์.com ชอบปลาภาคกลางมาอันดับสุดท้าย
พญ.ชนิกากล่าวว่า ปลาเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญ เมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์อื่น มีโปรตีนคุณภาพดีวัดได้ถึงร้อยละ 76
ในขณะที่เนื้อวัววัดได้ร้อยละ 74.6 สามารถซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอ สร้างกล้ามเนื้อได้มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เพราะลดการเกาะตัวของเม็ดเลือด ช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ กระตุ้นการสร้างสารเคมีซีโรโทนินในสมอง มีฤทธิ์ต้านการซึมเศร้า เป็นสารอาหารสำคัญในการสร้างเซลล์ประสาทในเด็กและทารกในครรภ์
ศ.พญ.ชนิกากล่าวอีกว่า คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าโอเมก้า 3 มีเฉพาะในปลาทะเล แต่ในปลาน้ำจืดก็มีโอเมก้า 3 สูง
บางประเภทสูงกว่าปลาทะเล เช่น ปลาสวายเนื้อขาว มีโอเมก้า 3 สูงถึง 2,570 มก.ต่อน้ำหนัก 100 กรัม ปลาช่อนมีโอเมก้า 3 ถึง 870 มก.ต่อน้ำหนัก 100 กรัม ขณะที่ปลาแซลมอลมีโอเมก้า 3 ประมาณ 1,000-1,700 มก.ต่อน้ำหนัก 100 กรัม ปลากะพงขาว 310 มก.ต่อน้ำหนัก 100 กรัม ส่วนใหญ่ปลาน้ำจืดมีราคาต่ำกว่าปลาทะเล ในภาวะน้ำมันแพง สินค้าราคาสูง สามารถเลือกบริโภคปลาราคาต่ำ แต่มีประโยชน์สูงอย่างปลาน้ำจืดภายในประเทศ ลดการบริโภคปลานำเข้า ที่คุณค่าทางอาหารจะลดลงไปเมื่อถูกแช่แข็ง โดยมีการพัฒนาคุณภาพการเลี้ยงให้ปราศจากการปนเปื้อนของพยาธิ
ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 02 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11071