หลังจากที่นักวิชาการออกมาเปิดเผยในเวทีสัมมนาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เกี่ยวกับกรณีคณบดีคณะแพทย์บางมหาวิทยาลัย ประกาศไม่รับนักศึกษาเพศที่ 3 เข้าเรียนต่อ โดยเน้นรับเฉพาะนักศึกษาที่เป็นชายจริง-หญิงแท้ หรือมหาวิทยาลัยบางแห่ง ห้ามนักศึกษากะเทยที่แต่งหน้าหรือใส่กระโปรงเข้าสอบ ซึ่งได้มีการร้องเรียนว่าเป็นการละเมิดสิทธิ์และเสรีภาพ จนเป็นข่าวครึกโครมตามที่ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้นั้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. นายบุญลือ ประเสริฐโสภา รมช.ศึกษาธิการ
เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการประสานงานกิจการนิสิตนักศึกษา โดยมีรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่างๆเข้าร่วม เพื่อนำเสนอปัญหาที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยและแนวทางแก้ไข ซึ่งได้มีการหยิบยกปัญหาของนักศึกษาเพศที่ 3 ขึ้นมาหารือในที่ประชุมด้วย
ภายหลังการประชุมนายบุญลือกล่าวว่า ได้ฝากให้แต่ละมหาวิทยาลัย ไปสำรวจจำนวนนักศึกษาเพศที่ 3 เพื่อดูว่าแต่ละคณะ/มหาวิทยาลัย มีจำนวนนักศึกษากลุ่มนี้มากน้อยเพียงใด
โดยศึกษาลงรายละเอียดว่า นักศึกษาเพศที่ 3 ที่มีการผ่าตัดแปลงเพศแล้ว หรือที่เพียงแต่เบี่ยงเบนทางเพศมีจำนวนเท่าใด เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาให้กับนักศึกษาในกลุ่มนี้ในระยะยาวต่อไป ปัญหาเพศที่ 3 โดยเฉพาะชายที่เบี่ยงเบนมาเป็นหญิงไม่ได้สร้างปัญหาให้สังคม ในบางกรณีกลับทำงานให้สังคมในมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดีด้วยซ้ำ เช่น ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี ดังนั้นต้องมาดูว่ากลุ่มเหล่านี้จริงๆแล้วมีปัญหาอย่างไร ซึ่งขณะนี้มีการร้องเรียนมา เช่น การใช้หอพัก ห้องน้ำ จึงอยากให้ไปสำรวจให้ ชัดเจน เมื่อได้จำนวนแล้วจะกลับมาทบทวนว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป โดยเรื่องนี้อาจจะต้องคุยกันในระดับนโยบายนอกเหนือจาก ศธ.ด้วยซ้ำ เพราะวันนี้ พ.ร.บ.คำนำหน้านามหญิง พ.ศ. 2551 ก็มีใช้แล้ว คนที่เคยจดทะเบียนสมรสแล้วหย่าร้างไปยังกลับมาใช้ น.ส.ได้ กรณีอย่างนี้ในอนาคตก็ควรกลับมาดูว่าจะต้องมีมาตรการอย่างไรต่อไป ซึ่งเรื่องนี้คงต้องหารือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพราะยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก
ด้าน นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า
ในที่ประชุมได้มีการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดคุยกันในเชิงว่าขณะนี้แต่ละมหาวิทยาลัยมีปัญหาอะไรบ้าง ซึ่งได้มีรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งยกประเด็นขึ้นมาว่า ขณะนี้มีปัญหาเรื่องของนักศึกษาเพศที่ 3 อาทิ บางคนลงทะเบียนเป็นนาย แต่ขอไม่อยู่หอพักชาย ทำให้อาจารย์ก็หนักใจว่าจะทำอย่างไร เพราะหากจะให้ไปอยู่หอพักหญิงก็เกรงว่าจะเกิดปัญหาได้ อีกทั้งกรณีของการใช้ห้องน้ำนักศึกษา มีการยกประเด็นขึ้นมาว่า บางครั้งอาจจะมีความจำเป็นต้องจัดห้องน้ำเฉพาะขึ้นมาสำหรับนักศึกษากลุ่มนี้หรือไม่ แต่ก็มีการอภิปรายว่า กรณีนี้อย่างนี้ควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เพราะนักศึกษาบางคนอาจจะผ่าตัดแปลงเพศมาแล้ว ก็ถือว่าเป็นผู้หญิงแล้วก็สามารถเข้าห้องน้ำหญิงได้ ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องไปทำความเข้าใจกับนัก ศึกษาหญิงให้เข้าใจร่วมกันด้วย แต่กรณีของนักศึกษาบางคนที่ยังครึ่งๆกลางๆยังไม่ถึงขั้นไปแปลงเพศ คงต้องบอกให้ทำตัวให้ดี
เลขาธิการ กกอ.กล่าวด้วยว่า เรื่องนี้หากมีการสำรวจจำนวนให้แน่ชัดจะได้เอามาคุยกันว่า
มหาวิทยาลัยควรจะมีแนวทางสำหรับนักศึกษากลุ่มนี้อย่างไร จะต้องถึงขั้นจัดบริการ เช่น หอพัก ห้องน้ำเฉพาะให้กับนักศึกษากลุ่มนี้หรือไม่ ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ชี้แจงว่า เฉพาะ มช.มีนักศึกษาทั้งหมดประมาณ 2 หมื่นคน มีนักศึกษาที่เป็นเพศที่ 3 ถึง 300 คน ขณะที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก็ระบุว่ามีจำนวนใกล้เคียงกัน อย่างไร ก็ตาม ยืนยันว่ามหาวิทยาลัยเปิดกว้างสำหรับนักศึกษาเพศที่ 3 เพราะปัญหานี้ เป็นเรื่องที่เกิดก่อนที่นักศึกษาจะเข้ามหาวิทยาลัย
มหาลัยมีปัญหา ตุ๊ดแต๋วล้น จัดระเบียบใหม่
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
เครดิต : ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!