เมื่อวันที่ 17 ก.พ. ที่ท้องสนามหลวง นายสัญญา พุทธเจริญลาภ วัย 34 ปี ผู้พิสมัยการเล่นว่าว ตัวแทนสมาคมนักบินว่าวประเทศไทย นำว่าวจุฬาขนาด 7 ซม. มาโชว์ต่อผู้ สื่อข่าว
พร้อมสาธิตการชักว่าวจุฬาขนาดจิ๋วขึ้นสู่ฟ้า ท่าม กลางสายตาประชาชนที่มามองด้วยความทึ่ง ก่อนเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1-19 เดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ตนได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทยนำว่าวไปแข่งขันในการประกวด ว่าวนานาชาติ ที่เมืองอามีดาบัด (ahmedabad) ประเทศอินเดีย ซึ่งมีตัวแทนจากชาติต่างๆ กว่า 10 ประเทศ เข้าร่วมแข่งขัน
นายสัญญากล่าวว่า จากแนวคิดที่อยากจะเผยแพร่ เอกลักษณ์ของความเป็นไทยสู่สายตาชาวโลก จึงตัดสินใจนำว่าวจุฬาและปักเป้าไปประกวด เพราะว่าวทั้ง 2 นี้ ถือเป็นสัญลักษณ์ของว่าวไทยที่ไม่เหมือนชาติใดและในการประกวดว่าวที่ผ่านมา ฝรั่งมักนำว่าวที่มีขนาดใหญ่ มาประกวด จึงทำให้เกิดไอเดียว่า เพื่อแปลกใหม่ไม่เหมือนใครและสะดวกต่อการพกพา จึงตั้งใจจะสร้างว่าวจุฬา-ปักเป้าขนาดจิ๋วที่สามารถชักขึ้นฟ้าได้เหมือนว่าวใหญ่ จริงๆนำไปประกวด หลังจากนั้นได้ใช้เวลากว่า 1 เดือน บรรจงทำว่าวจิ๋วที่สามารถชักขึ้นสู่ท้องฟ้าได้สำเร็จ โดยว่าวจุฬามีขนาด 7 ซม. ถูกย่อส่วนลงจากสัดส่วนว่าวจุฬา ขนาดใหญ่ทุกประการ ไม้ที่ทำโครง ทำจากไม้ไผ่สีสุก และมีการนำไหมพิเศษมาทำแทนเส้นด้ายป่าน เพื่อสักลายในตัวว่าวแบบเดียวกันกับว่าวจุฬาขนาดเท่าของจริงทุกประการ สำหรับว่าวปักเป้าก็มีขนาดเพียง 5 ซม. เท่านั้น ใช้กระดาษพิเศษทำเพื่อให้มีความบางเบาแต่สามารถชักขึ้นสู่ฟ้าได้จริงๆ
“หลังจากที่เข้าประกวดเสร็จ ปรากฏว่ากรรมการตัดสินให้คว้ารางวัลที่ 2 ของว่าวประเภทของความละเอียดอ่อน ได้รับโล่รางวัลมาครอง
ซึ่งถือเป็นรางวัลที่ตนภูมิใจ เพราะเป็นการประชาสัมพันธ์เอกลักษณ์ของประเทศชาติออกสู่สายตาชาวโลก หลังจากคว้ารางวัลมาครองแล้ว ก็แนวคิดต่อไปคือเตรียมจะจัดสร้างว่าวรูปเรือสุพรรณหงส์ เนื่องจากส่วนตัวมองว่า ถือเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทยที่สมบูรณ์ที่สุด จากเดิมเรือนั้นจะอยู่แต่ในน้ำ แต่จะพยายามทำมาให้ลอยอยู่บนท้องฟ้าให้ได้ เพื่อนำไปอวดต่อสายตาชาวโลกในอนาคต” หนุ่มนักประดิษฐ์ว่าวกล่าว