เมนูพิสดาร...เปิบคางคก อย่าเดิมพันชีวิตกับความอร่อย

ขึ้นเป็นข่าวหน้า 1 “ไทยรัฐ”....กับความรู้เท่า ไม่ถึงการณ์กับเมนูเปิบพิสดาร

ของหนุ่มรับจ้างเฝ้าสวนยางพาราบ้านผาหวาย หมู่ 3 ต.ปวนพุ อ.หนองหิน จ.เลย โดยจับ “คางคก” มาถลกหนังย่างไฟ และรีดไข่ทำห่อหมกแกล้มเหล้า-เบียร์ ผลสุดท้าย...ช็อก!!... ดับอนาถ ซึ่งแพทย์ระบุว่าสาเหตุเกิดจากพิษคางคกที่มีฤทธิ์ทำให้ชักกระตุก และหัวใจวาย

ในช่วงเวลา 100 ปีที่ผ่านมา มีนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกมากกว่า 500 คน กว่า 60 ประเทศ ได้ร่วมกันประเมินสถานภาพสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอย่าง กบ เขียด คางคก อึ่งอ่าง ปาด จิ้งจกน้ำ และ เขียดงู ว่า......กำลัง ตกอยู่ในภาวะถูกคุกคาม อย่างหนัก จนอยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์

 
สาเหตุหนึ่งเพราะสัตว์พวกนี้อาศัยอยู่ในน้ำจืด มันเลยได้รับผลกระทบจากมลพิษก่อนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งมนุษย์ด้วย การที่ประชากรและชนิดพันธุ์ของสัตว์เหล่านี้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นสัญญาณบอกเหตุว่า..... ระบบนิเวศที่ค้ำจุนสรรพชีวิตต่างๆบนโลก กำลังล่มสลาย....


คางคก มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Toads เป็น amplibian หรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ Class Amphibia Family Bufonidae
ในประเทศไทยพบคางคก 4 ชนิด คือ Bufo macrotis, Bufo asper, Bufo parvus และ Bufo melanostictus ทุกชนิดล้วนมีพิษทั้งสิ้น
 

โดยธรรมชาติ คางคกจะมีพิษที่สร้างจากร่างกายของมันจากต่อม “พาโรติด” (parotid) ซึ่งอยู่บริเวณใต้ผิวหนังใกล้หู ต่อมดังกล่าวจะเก็บและขับสารพิษที่เรียกว่า “ยาง” ซึ่งมีส่วนประกอบของสารกลุ่มแคติโคลามีนอินดอล อังคิลเอมีน อันมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทแล้วหลั่งมาสู่ผิวหนังของคางคก เมื่อสุนัข แมว หรือสัตว์ชนิดอื่นสัมผัสหรือเลีย พิษมันจะซึมผ่านอย่างรวดเร็วจะทำให้ประสาทหลอน นอกจากนี้ ใน รังไข่ รวมทั้งใน เลือด ก็มีพิษเช่นเดียวกัน ซึ่ง พิษจะแตกต่างกันไปตามชนิด รวมทั้งสภาพภูมิอากาศ ถิ่นที่อยู่อาศัยและปัจจัยอื่นๆ
 

สำหรับชนิดที่พบในทุกภาคในบ้านเราช่วงฤดูฝนคือ Bufo melanostictus หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “คางคกบ้าน”

ซึ่งมีลักษณะเด่นชัดคือ ผิวหนังแห้งขรุขระเป็นปุ่มปมทั่วตัว ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง โดยเฉพาะบริเวณด้านหลัง มีแผ่นหูเด่นชัด ขนาดเล็กกว่าลูกตา หัวมีสันเป็นแนวยาวหลายสัน โดยเฉพาะบริเวณด้านหลังลูกตา จะเป็นต่อม พาโรติค รูปทรงคล้ายเมล็ดถั่วยาว 25 มม.และกว้าง 10 มม. ทั้งนี้ ขนาดความยาวลำตัววัดจากจมูกถึงก้น ประมาณ 10 เซนติเมตร หากเป็นชนิดที่พบทางภาคใต้ จะมีขนาดใหญ่วัดขนาดความยาวได้ 22 เซนติเมตร
 ทั้งนี้ อาณาบริเวณ ที่มันชอบอาศัยอยู่จะเป็นตามพื้น ชอบหลบซ่อนตัวอยู่ ใต้ก้อนหิน ขอนไม้ และซอกโพรงดิน พักผ่อนหลับนอนตอนกลางวัน กระทั่ง “ตะวันลับขอบฟ้า” มันจึงออกหาพวกตัวแมลงและหนอนกินเป็นอาหาร แต่ก็มีบ้างในบางวันที่ฝนตกหนักจะออกมาตวัดแมลงเข้าปากเป็นอาหารบ้างในบางครั้ง ซึ่งแต่ละตัวจะมีเขตเฉพาะน้อยครั้งที่จะย้ายถิ่นหากิน


ตามศาสตร์ของจีนโบราณ
...ได้นำสารพิษจากต่อม Parotid และพิษจากหนังคางคกมาสกัดเป็นผงด้วย แล้วนำไปใช้ประโยชน์ เป็นยาแก้ไอ ยากระตุ้นหัวใจ ยาขับปัสสาวะ ยาแก้ปวดฟัน และลด “ความชำนาญและรู้จริง”อาการไซนัสอักเสบ

แต่พี่ไทยเราเล่นกันแบบทางลัด เอา เนื้อคางคก มาสับๆปรุงรส “เปิบ” กับสุรามันก็จบเห่กัน และที่ไม่ ถูกต้องที่สุดกับไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง กับพวก เครื่องในไข่ ห้ามนำมาปรุงอาหารโดยเด็ดขาด เนื่องจากสารพิษของมันไม่สามารถทำลายด้วยความร้อน
 
และเมื่อได้รับปริมาณสารพิษจากคางคกไปมากๆ จะเกิดอาการหายใจไม่ปกติ เช่น หายใจขัด มีน้ำลาย และเสมหะมาก แขนขาอ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายท้อง และอ่อนเพลีย หายใจหอบ เกิดภาวะหายใจล้มเหลว....ถ้าสารพิษสัมผัสที่ดวงตาก็จะเกิดอันตรายได้เช่นกัน เช่น ทำให้อักเสบของเยื่อบุตา และแก้วตา เกิดตาพร่า ตามัว....ถึงกับบอดชั่วคราวได้

และที่หนักหนาสาหัสแบบไม่ต้องเสี่ยงกับการเอาชีวิตเข้าเดิมพัน คือ “ซี้ม่องเท่ง” นั่นเอง.


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์