ค่าไฟเดือน ก.พ.จ่อขึ้นอีก 6 สตางค์

นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกำกับดูแลค่าไฟฟ้าอัตโนมัติและบริการ (บอร์ดเอฟที)

เปิดเผยว่า ในวันที่ 13 ก.พ.นี้ บอร์ดเอฟทีจะประชุมเพื่อพิจารณาค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ที่จะเปลี่ยนแปลงในรอบเดือน ก.พ.-พ.ค.นี้ ยอมรับว่า แนวโน้มค่าเอฟทีงวดใหม่จะปรับขึ้น เพราะราคาก๊าซธรรมชาติปรับขึ้น 10 บาทต่อล้านบีทียู แต่ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทุก 1 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ค่าเอฟทีลดลงได้ 3 สตางค์ต่อหน่วย  จึงต้องนำมาพิจารณาประกอบด้วย 

ส่วนในงวดเดือน มิ.ย.-ส.ค.นี้  อาจต้องปรับขึ้นอีกครั้ง จากการใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงหลักผลิตไฟฟ้า

เพราะปริมาณน้ำในเขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) อาจไม่เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้า ด้านผู้สื่อข่าวรายงานว่า ค่าเอฟที ที่จะปรับขึ้นในงวดเดือน ก.พ.-พ.ค.นี้ อาจปรับขึ้น 5-6 สตางค์ต่อหน่วย จากปัจจุบันเก็บที่ 66 สตางค์ต่อหน่วย นับเป็นการปรับขึ้นครั้งแรก ในรอบ 17 เดือน
 

ส่วนนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน กล่าวว่า ค่าเอฟทีงวดเดือน ก.พ.-พ.ค.นี้ จะขึ้นเท่าไรขึ้นกับการพิจารณาของบอร์ดเอฟที กระทรวงพลังงานไม่แทรกแซงให้ตรึงหรือลดราคา รัฐบาลใหม่ก็คงไม่แทรกแซงเช่นกัน เพราะมีสูตรคำนวณเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว “ยอมรับว่า งานด้านไฟฟ้าน่าห่วง กฟผ.ถอดใจลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในไทยแล้ว  เพราะคนไทยไม่ยอมรับพลังงานเชื้อเพลิง ที่หลากหลาย โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหิน และนิวเคลียร์ ในอนาคต กฟผ.คงต้องซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเกาะกงของกัมพูชา หรือร่วมทุนสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในกัมพูชา แม้ว่าจะมีต้นทุนการลงทุนที่สูงกว่าลงทุนในประเทศก็ตาม”
 

สำหรับการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี)

คาดว่า บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จะนำเข้าได้หลังปี 2554 แต่ราคาจะสูง เพราะเป็นราคาในตลาดจริง โดยบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. จะลงนามข้อตกลงเบื้องต้นการรับซื้อก๊าซแอลเอ็นจีกับกาตาร์ ในปริมาณ 900,000 ตันต่อปี ในราคา 10 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู  ตามราคาอ้างอิงตลาดญี่ปุ่น.


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์