ทีพีบีเอสยันรับคนทีไอทีวีทำงาน 80%

พนักงานทีไอทีวีลุ้น บอร์ดไทยพีบีเอสประกาศรับเพิ่ม  3 แผนก ฝ่ายรายการ ฝ่ายเทคนิค และฝ่ายผลิต ยันเลือกคนเก่า 80 เปอร์เซ็นต์

ส่วนอีกร้อยละ 20 เป็นคนนอกที่มาสมัคร ด้าน “เทพชัย หย่อง” ระบุคนที่เป็นมืออาชีพต้องพร้อมที่จะทำงานร่วมกับทุกคนได้ ไม่สนเรตติ้ง แต่ที่สำคัญขอให้ทีวีสาธารณะทำรายการที่สร้างประโยชน์อย่างแท้จริง ส่วน คณะกรรมการไทยพีบีเอสเข้ารับฟังข้อ  เสนอแนะและความคิดเห็นของกลุ่มเอ็นจีโอต้องการให้สภาผู้ชมมีส่วนร่วมในการผลิตให้หลาก หลายครอบคลุมทุกส่วน เน้นทำ “ทีวีภาค” และ สตูดิโอสาธารณะ
  
ลังจากอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์มีคำสั่งให้สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวียุติการแพร่ภาพเมื่อเที่ยงคืนวันที่ 14 ม.ค.ที่ผ่านมา เพื่อเปลี่ยนผ่านเป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ

โดย ครม. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายชั่วคราวองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือไทยพีบีเอส ประกอบด้วย นายขวัญสรวง อติโพธิ เป็นประธานคณะกรรมการฯ นายเทพชัย หย่อง รักษาการ ผอ.ไทยพีบีเอส นายอภิชาติ ทองอยู่ เป็นโฆษกไทยพีบีเอส นายณรงค์ ใจหาญ และนางนวลน้อย ตรีรัตน์ เป็นผู้ช่วยโฆษกไทยพีบีเอส ซึ่งคณะกรรมการฯได้เปิดรับสมัครพนักงานเข้าทำงานกับไทยพีบีเอสที่จะออกอากาศแพร่ภาพในวันที่ 1 ก.พ. นี้ มีผู้สมัครทั้งพนักงานทีไอทีวีเดิมและบุคคลทั่วไปจำนวน 3,322 คน โดยคณะกรรมการฯเริ่มพิจารณารับพนักงานเข้าทำงานในสัปดาห์นี้ ตามที่เสนอข่าวให้ทราบตลอดนั้น
 
ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ามาว่า เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 21 ม.ค. คณะกรรมการนโยบายชั่วคราวองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

หรือไทยพีบีเอส ประกอบด้วย นายเทพชัย หย่อง รักษาการผอ.ไทยพีบีเอส นายขวัญสรวง อติโพธิ ประธานคณะกรรมการไทยพีบีเอส และนายอภิชาติ ทองอยู่ โฆษกไทยพีบีเอส ได้เข้าพบหารือกับอดีตผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีที่อาคารชินวัตร 3 ถนนวิภาวดีรังสิต โดยใช้เวลาหารือกันนาน 2 ชั่วโมง
 
จากนั้นในตอนเที่ยงวันเดียวกัน นายขวัญสรวง ประธานคณะกรรมการไทยพีบีเอส ให้สัมภาษณ์ ว่า พวกตนมาพบอดีตผู้บริหารทีไอทีวีเพื่อให้เกิดความเข้าใจในจุดยืนซึ่งกันและกัน เพื่อให้เข้าใจถึงโครงสร้างและเนื้องาน ซึ่งได้ข้อตกลงว่า โครงสร้างของเนื้องานจากที่เราได้กำหนด ว่าจะต้องมีรายการสดออกอากาศในวันที่ 1 ก.พ. นี้ ทำให้ต้องเร่งเดินหน้าให้เร็วที่สุด จึงตกลงกันว่าในเฟสแรกจะรับพนักงานทีไอทีวีเดิม 80% ของพนักงานทั้งหมดใน 3 แผนกด้วยกัน คือ ฝ่ายรายการ ฝ่ายเทคนิค และฝ่ายผลิต โดยไม่รวมฝ่ายข่าวเนื่องจาก โครงสร้างฝ่ายข่าวเดิมของทีไอทีวีกับโครงสร้างใหม่ไม่ตรงกันต้องขอปรับเพื่อให้ลงตัวอีกรอบหนึ่ง แต่ทั้ง 3 แผนกต้องเดินหน้าให้ได้ก่อนเพื่อไม่ให้กระทบต่อภารกิจ ไม่ต้องกลับไปใช้ช่อง 11 เหมือนเดิมอีก ส่วนเฟสหลังจากนั้นค่อยรับพนักงานเพิ่มตามภารกิจที่เพิ่มขึ้น โดยจะมีบริษัท และอาจารย์จากภายนอกมาคัดสรรบุคคล ที่จะเข้ามาทำงานยืนยันว่าจะมีความโปร่งใสอย่างแน่นอน
 
ส่วนนายเทพชัย รักษาการ ผอ.ไทยพีบีเอส กล่าวว่า ทางคณะกรรมการจะจัดทีมคนนอก และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเข้ามาตรวจสอบทรัพย์สินของทีไอทีวีเพื่อให้เกิดความโปร่งใส

ก่อนที่จะโอนให้กรมประชาสัมพันธ์ว่าครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ อุปกรณ์ทั้งหลายมีตัวตนจริงหรือไม่ ส่วนที่ทำการของสถานีโทรทัศน์แห่งใหม่จะใช้ที่ตึกชินวัตร 3 เพราะมีสัญญาจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2551 เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่กับปฏิกิริยาของฝ่ายข่าวที่ยังมีแรงต่อต้านคณะกรรมการชั่วคราว อยู่ นายเทพชัย กล่าวว่า เท่าที่เห็น ไม่มีเรื่องที่น่ากังวล พนักงานน่าจะเข้าใจว่าเรามาช่วยตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. คณะกรรมการชุดนี้ไม่เคยก่อปัญหา อะไร ปัญหาเก่า ๆ ที่ฟ้องร้องกันก็ไม่ใช่ภาระของ คณะกรรมการฯ พนักงานควรจะให้ความร่วมมือ กับคณะกรรมการฯ มากที่สุดเพื่อผลักดันให้ทีวีสาธารณะเดินหน้าไปได้อย่างเร็วที่สุด
 
ต่อข้อถามว่ามีเสียงเรียกร้องจากพนัก งานทีไอทีวีให้รับฝ่ายข่าวให้กลับไปทำงานทั้งหมด นายเทพชัย กล่าวว่า ถ้ามีความเป็นมืออาชีพจริง ก็ต้องทำงานร่วมกับคนทุกคนได้ ที่มีประสบการณ์ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นคน   ใหม่หรือคนเก่าก็ล้วนผ่านการคัดสรรมาเป็นอย่างดี ด้วยความรอบคอบ ซึ่งหากมีทัศนคติตรงกัน ก็เชื่อว่าจะทำงานร่วมกันได้
  
ผู้สื่อข่าวถามว่า พนักงานเรียกร้องให้ทำทีวีสาธารณะให้มีเรตติ้งอย่างน้อยอันดับ 3 เท่ากับทีไอทีวีที่ทำได้ นายเทพชัย กล่าวว่า เข้าใจว่า การทำทีวีต้องมีคนดู ไม่ใช่ว่าจะเน้นวิชาการจนน่าเบื่อเกินไป แต่เรตติ้งไม่ว่าจะอันดับ 1, 2, 3 หรือ 4 ไม่มีความสำคัญเท่ากับว่าสถานีแห่งนี้ได้ทำรายการที่สร้างประโยชน์อย่างแท้จริงหรือไม่ ที่ผ่านมา ภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองนั้นไม่จำเป็นต้องมีคนดูล้นโรง เสมอไป
 
 
ขณะที่ นายอภิชาติ โฆษกไทยพีบีเอส กล่าวว่า โดยทั่วไปคณะกรรมการฯ กับเอ็นจีโอ   มีความเห็นคล้าย ๆ กัน คืออยากจะเห็นทีวีสาธารณะมีความเป็นอิสระ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อยากจะให้สภาผู้ชมมีบทบาทในเรื่องของการผลิต การมีส่วนร่วมให้มีความหลากหลายครอบคลุมทุกส่วน โดยกลุ่มเอ็นจีโอเสนอแนะให้มีทีวีภาค เช่น ให้มีการใช้ภาษายาวีในการออกอากาศในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือมีรายการของคนพิการเป็นต้น สำหรับคณะกรรม การไทยพีบีเอสนั้นจะเริ่มนั่งทำงานที่ตึกชินวัตร 3 ตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค. นี้เป็นต้นไป.


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์