1. จุดฉลองก่อนใคร คือดอกไม้ไฟที่ซิดนีย์ ฮาร์เบอร์ บริดจ์ และโอเปร่า เฮาส์ ในนครซิดนีย์ ออสเตรเลีย ปีนี้ใช้ชื่อโชว์ว่า "เวลาในช่วงชีวิตของเรา" |
มีทั้งที่จุดดอกไม้ไฟสว่างไสวตระการตา ตั้งแต่ทวีปออสเตรเลีย ไล่มาทางเอเชีย ยุโรป แอฟริกา และอเมริกา ส่วนประเทศที่ไร้บรรยากาศงานเฉลิมฉลองได้แก่ ประเทศเคนยา หลังเกิดเหตุรุนแรงจากสถานการณ์ทางการเมือง ตำรวจปราบผู้ประท้วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีในหลายเมืองติดต่อกันเป็นวันที่ 4 ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเกินกว่า 200 ราย
2.มาสค็อตอย่างเป็นทางการของมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2008 มาโชว์ตัว พร้อมตัวไก่ของฝรั่งเศส ที่งานรูปปั้นหิมะนานาชาติ หรืออินเตอร์เนชั่นแนล สโนว์ สคัลป์เจอร์ อาร์ต เอ็กซ์โป ครั้งที่ 20 ที่เมืองฮาเอ่อร์ปิน มณฑลเฮย์หลงเจียง ของที่จีน 3.แสงสีเหนือลอนดอน อาย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ 4. สาวๆ เกาหลีใต้ในกรุงโซลขายกระปุกออมสินต้อนรับปีหนู หนูเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง ความหวัง และโอกาส 5.ดอกไม้ไฟพุ่งจากอนุสาวรีย์แห่งชาติ ในกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย |
ที่อิรัก เอพีรายงานว่า ชาวอิรักฉลองปีใหม่ครั้งแรกในรอบ 4 ปีหลังจากเกิดสงครามอิรักและอยู่ท่ามกลางความหวาดกลัว ทั้งระเบิดพลีชีพ และการสังหารโดยฝีมือของกองโจรหัวรุนแรงที่พุ่งเป้าไปที่ช่างทำผมและคนขายเหล้า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของตะวันตก ปีใหม่ปีนี้ชาวอิรักจัดงานฉลองกันอย่างสนุกสนานเฮฮา ร้องรำทำเพลง โดยเฉพาะในโรงแรมใหญ่ 2 แห่ง คือ ปาเลสไตน์และเชอราตันและมีการยิงปืนขึ้นฟ้าไปทั่วกรุงแบกแดดเพื่อฉลองวันปีใหม่ด้วย
6. ช่อดอกไม้ไฟกระจายออกมาจากอาคารทู อินเตอร์เนชั่นแนล ไฟแนนซ์ เซ็นเตอร์ ตึกที่สูงที่สุดในอ่าววิกตอเรีย เกาะฮ่องกง 7.ดอกไม้ไฟระยิบระยับเหนือวิหารพาเธนอน เนินอะโครโพลิส กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ 8. สีแดงเจิดจ้า เหนือประตูชัยแบรนเดนบวร์ก ในกรุงเบอร์ลิน เยอรมนี 9.พระอาทิตย์ตกดินครั้งสุดท้ายในปี 2550 ที่มาลิบู รัฐแคลิฟอร์เนีย |
ที่กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ ชาวสลัมพากันชีช้ำตั้งแต่ต้นปี เมื่อเกิดไฟไหม้บ้านเรือนในสลัมเผาวอดไป 50 กว่าหลัง ทำให้หลายร้อยชีวิตไร้ที่อยู่ นอกจากนี้ยังมีรายงานผู้บาดเจ็บจากการจุดพลุและดอกไม้ไฟมากกว่า 220 ราย
ที่กรุงลอนดอน อังกฤษ มีผู้คนกว่า 700,000 รายออกไปเดินท่องราตรีตามท้องถนน มุ่งหน้าไปยังริมฝั่งแม่น้ำเทมส์ เพื่อชมการจุดดอกไม้ไฟที่วงล้อลอนดอนอาย นาน 10 นาที
ที่แคนาดา ผู้คนหลายหมื่นออกไปฉลองตามท้องถนนในรัฐควิเบก เพราะปีนี้เป็นวาระพิเศษของการครบรอบ 400 ปีการก่อตั้งเมืองฟรังโกโฟน โดยนักสำรวจซามูเอล เดอ ฌองเปลน
ที่คิวบา ทีวีอ่านแถลงการณ์ของพล.อ.ฟิเดล คาสโตร ผู้นำประเทศที่ยังล้มป่วย ใจความว่า ชาวคิวบาควรภาคภูมิใจที่ยังคงต้านทานแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกามาได้เป็นเวลานาน ในวาระที่ประเทศเข้าสู่ปีที่ 50 ของการต่อสู้นี้