วาระ2-3หลังลุยพิจารณากม.ในกำกับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น สมาชิก สนช.ได้แสดงความเห็นทั้งคัดค้าน และสนับสนุนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิก สนช.เสนอว่าร่าง พ.ร.บ.จุฬาฯ ต้องหาข้อยุติให้ได้ก่อน หากหาข้อยุติไม่ได้และจะพิจารณาต่อ คงต้องนับองค์ประชุม ทั้งนี้ หลังอภิปรายประมาณ 1 ชั่วโมง น.ส.พจนีย์ ธนวรานิช รองประธาน สนช.ในฐานะประธานที่ประชุม ได้ยืนยันจะดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระต่อไป โดยกล่าวว่า นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน สนช.พิจารณาด้วยความรอบคอบแล้วก่อนบรรจุร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับเข้าระเบียบวาระการประชุม จึงให้เริ่มพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สจล.เป็นฉบับแรก และลงมติประกาศใช้เป็นกฎหมายในวาระที่ 3 ด้วยคะแนน 134 ต่อ 6 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.มช.และลงมติในวาระที่ 3 ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ด้วยมติ 138 ต่อ 5 เสียง
โดยนายมีชัยได้ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม และก่อนพิจารณาได้ให้เจ้าหน้าที่นับองค์ประชุมว่าเกินกึ่งหนึ่งหรือไม่ ปรากฏว่ามีสมาชิก สนช.ร่วมประชุม 171 คน จาก 241 คน อย่างไรก็ตาม ระหว่างนับองค์ประชุม พล.อ.ปานเทพขอหารือว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้ยังเกิดความขัดแย้ง ที่ประชุมจะเดินหน้าต่อไปหรือไม่ นายมีชัยตอบว่า เมื่อบรรจุในวาระการประชุมแล้ว ก็ไม่มีทางอื่น เว้นแต่จะเสนอให้เลื่อนการพิจารณา ทำให้นายวัลลภเสนอญัตติให้เลื่อนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.จุฬาฯออกไป นายมีชัยจึงขอมติจากที่ประชุม ซึ่งที่ประชุมไม่เห็นด้วยที่จะให้เลื่อนการพิจารณาออกไป 130 ต่อ 9 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง ทำให้ที่ประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.จุฬาฯ ในวาระ 2-3 ต่อ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังพิจารณาร่าง พ.ร.บ.จุฬาฯ ในวาระ 2 เรียงตามมาตรา ที่ประชุม สนช.มีมติในวาระที่ 3 ประกาศใช้ร่าง พ.ร.บ.จุฬาฯเป็นกฎหมาย ด้วยมติ 134-6 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง
สนช.ผ่านร่างพ.ร.บ.จุฬาฯ-มช.-สจล.
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ 3 ฉบับ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.), ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) และร่าง พ.ร.บ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวาระ 2 และ 3 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก่อนเริ่มพิจารณา พล.อ.ปานเทพ ภูวนาถนุรักษ์ สมาชิก สนช. ได้อภิปรายคัดค้าน และเสนอญัตติให้ กมธ.ถอนร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับออกไปก่อน โดยให้เหตุผลว่าไม่ใช่กฎหมายเร่งด่วนต่อประเทศชาติ ที่สำคัญจะมีผลกระทบต่อคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตนักศึกษา อีกทั้งมีผู้เคลื่อนไหวคัดค้าน ทั้งยังผิดข้อบังคับการประชุม สนช.เพราะคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญฯ เสนอบรรจุเป็นวาระการประชุมทั้งๆ ที่ยังพิจารณาไม่เสร็จ ขณะที่นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธาน กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับ ชี้แจงว่า การเสนอร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับยึดถือตามข้อบังคับทุกประการ
ผู้สื่อข่าวรายงาน จากนั้นที่ประชุม สนช.ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.จุฬาฯ