รายงานการศึกษาของนักวิจัยในสหรัฐฯพบว่า
เมื่อคู่สมรสจะต้องมีการย้ายงานเปลี่ยนอาชีพ มีแนว โน้มว่าผู้หญิงต้องเป็นผู้เสียสละ ละทิ้งอาชีพเดิมของตน แม้จะมีรายได้ผลประโยชน์สูงทัดเทียมกับสามีก็ตาม
“ปัจจุบันมีคู่สมรสที่ทำงานหารายได้ด้วยกันทั้งคู่ และคนจำนวนมากต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจว่าอาชีพของใครสำคัญกว่ากัน”
แมรี นูแนน จากมหาวิทยาลัยไอโอวา กล่าวในการให้สัมภาษณ์ และส่วนใหญ่ก็มักจะให้ความสำคัญกับอาชีพ ของสามีมากกว่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงว่าบทบาทหญิง ชายแบบเดิมยังคงติดตรึงอย่างมั่นคง
แมรี นูแนน ทำวิจัยร่วมกับคิมเบอร์ลี โชแมน จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เดวิสได้วิเคราะห์ประสบการณ์ของชายและหญิงทำงานกว่า 4,000 คน ที่มีอายุระหว่าง 25-59 ปี ซึ่งทั้งหมดสมรสแล้วปรากฏว่า
“ผลการศึกษาของเราสนับสนุนความคิดที่ว่าการอพยพโยกย้าย ส่วนใหญ่จะสนับสนุนอาชีพของสามี
ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็น “ช้างเท้าหลัง” ผู้ติดตามสามีที่ได้รับการสนับสนุนให้เลื่อนขั้นการงาน” นูแนนกล่าว
นักสังคมวิทยาคาดการณ์ว่า ชนิดงานที่ชายหญิงนั้นทำอยู่อาจเป็นเหตุผลหนึ่ง
เพราะว่าผู้ชายมักทำงานที่มีความชำนาญเฉพาะด้านมากกว่าหรืองาน ที่มีความต้องการสูงทำให้ได้ไต่บันไดเงินเดือนได้สูงกว่า แต่จากการศึกษาของนักวิจัยทั้งคู่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร “โซเชียล ฟอร์ซ” พบว่าแม้จะเป็นงานในชนิดเดียวกัน แต่เมื่อจะต้องมีการโยกย้าย ผู้หญิงยังคงจะต้องแบกรับความเสียเปรียบนี้ไว้
“คนยังคงติดอยู่กับภาพเหมารวมในการเป็นภรรยาที่ดี
หมายถึงว่าต้องดูแลลูกและสนับสนุนงานอาชีพของสามี ซึ่งถูกมองว่าเป็นหน้าที่หลักของภรรยา” นักวิจัยกล่าว