ในการประชุมกลุ่มสำรวจโลกเฉพาะกิจ ซึ่งมีรัฐมนตรีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกเดินทางเข้าร่วมประชุม เพื่อหารือถึงความร่วมมือด้านการดำเนินการใช้ดาวเทียมในการสำรวจทรัพยากรต่างๆ ของโลกเป็นครั้งแรก ซึ่งสิ่งที่นานาชาติให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง คือการที่ประเทศไทยจะดำเนินการปล่อยดาวเทียม "ธีออส" ขึ้นสู่อวกาศในต้นเดือนมกราคมนี้
"ธีออส" เป็นดาวเทียมดวงแรกของไทยที่จะสนับสนุนข้อมูลใหม่ๆ
เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปไม่เพียงแต่ภายในประเทศเท่านั้นแต่หมายถึงการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ทั่วโลก โดยหลายประเทศให้ความสนใจ และบางส่วนได้มีการติดต่อพูดคุยเพื่อขอซื้อข้อมูลจากธีออสบ้างแล้ว
"ที่ผ่านมาเราเป็นเพียงแค่ผู้ที่ใช้บริการ แต่ต่อไปเราจะกลายเป็นผู้ให้บริการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลใหม่ๆ ที่จะได้จากธีออสจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในประเทศ เช่น ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของชาวบ้าน การจัดการที่ดินต่างๆ ซึ่งขณะนี้นับว่าเราได้ก้าวอีกขั้นหนึ่ง และหวังว่าจะเป็นผู้นำในระดับภูมิภาค นอกจากนี้ในส่วนของการให้บริการข้อมูล ทราบว่าขณะนี้ได้มีการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกันระหว่างกูเกิ้ล กับ สทอภ.ในการติดต่อซื้อขายข้อมูลแผนที่ดาวเทียมบ้างแล้ว เนื่องจากข้อมูลที่จะได้จากดาวเทียมธีออสของประเทศไทยจะถือว่าทันสมัยกว่าที่ "กูเกิ้ล เอิร์ท" ใช้อยู่ หลังจากการส่งดาวเทียมธีออสขึ้นสู่อวกาศแล้วจะมีการตกลงเรื่องราคาและความแน่นอนอีกครั้งหนึ่ง" ศ.ดร.ยงยุทธกล่าว
ไทยผงาดส่งดาวเทียม ธีออสขึ้นโคจรมกราคมนี้
เมื่อไม่นานมานี้ ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า