เผยโฉมรถไฟฟ้าใหม่3สาย

เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2550
 
ที่โรงแรมทีเคพาเลซ แจ้งวัฒนะ นายอร่าม ก้อนสมบัติ รอง ผอ. สนข. เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 การศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการออกแบบเบื้องต้น โครง การระบบขนส่งมวลชนสายสีเหลือง น้ำตาล และสีชมพู จัดโดยบริษัทที่ปรึกษา มีผู้เข้าร่วม 200 คน สำหรับการศึกษาโครงการระบบขนส่งทั้ง 3 สาย จะครอบคลุมพื้นที่ กทม. และปริมณฑล

รายละเอียดดังนี้

1. สายสีเหลือง ลาดพร้าว-ศรีนครินทร์-สำโรง ระยะทาง 35 กม. จะมีจุดเริ่มต้นที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว แนวเส้นทางไปตามถนนลาดพร้าว ศรีนครินทร์ แต่จุดสิ้น สุดมี 5 ทางเลือก คือ จุดแรกเชื่อมสายสีเขียวที่แยกสำโรง จุดที่ 2 แยกบางนา จุดที่ 3 แยกการไฟฟ้า จุดที่ 4 เชื่อมสายสีเขียว 2 จุด ที่แยกบางนาและสำโรง จุดที่ 5 เชื่อมสายสีเขียว 2 แห่ง แยกบางนาและการไฟฟ้า


2. สายสีน้ำตาล บางกะปิ-มีนบุรี ระยะทาง 10 กม. มี 2 ทางเลือก คือแนวทางแรก ต่อเชื่อมสายสีส้มบริเวณคลองบ้านม้า ไปตามถนนรามคำแหง มีนบุรี สิ้นสุดที่แยกสุวินทวงศ์เชื่อมกับสายสีชมพู แนวทางที่ 2 ต่อเชื่อมสายสีเหลืองแยกลำสาลี ถนนรามคำแหง มีนบุรี สิ้นสุดแยกสุวินทวงศ์


3. สายสีชมพู แคราย-สุวินทวงศ์ แนวสายทางเริ่มต้นที่แยกแคราย ไปตามถนนติวานนท์ แจ้งวัฒนะ รามอินทรา สิ้นสุดที่แยกสุวินทวงศ์ โดยจุดเริ่มต้นมี 2 ทางเลือก คือ จุดแรกอยู่บนถนนติวานนท์ หน้ากระ ทรวงสาธารณสุข จุดที่ 2 บนถนนรัตนาธิเบศร์ หน้า ศูนย์ราชการนนทบุรี ส่วนที่จุดสิ้นสุดมี 2 ทางเลือก โดยสายแรกไปลงถนนสุวินทวงศ์ และสายที่ 2 ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ สำหรับระบบขนส่งมวลชนมีหลายรูปแบบ เช่น รถประจำทางด่วนพิเศษแบบกับพื้น และยกระดับ หรือเป็นรถไฟฟ้าขนาดเบาราบกับพื้นและยกระดับ นอกจากนี้จะเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือขนาดหนัก เป็นต้น ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะใช้เวลาศึกษา 15 เดือน กำหนดแล้วเสร็จ ต.ค. 2551


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
 
สำหรับประชาชนที่เข้าร่วมสัมมนา ต่างให้ความสนใจโครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีชมพู เพราะจะเป็นคนในพื้นที่โครงการ ส่วนใหญ่สอบถามเรื่องความเป็นไปได้ของโครงการ รูปแบบและผลกระทบต่อการก่อสร้าง โดยยกตัวอย่างการก่อสร้างสะพานข้ามแยกเมืองทอง 1 ถนนแจ้งวัฒนะ ใช้เวลา 2 ปี สร้างผลกระทบต่อการจราจรอย่างมาก ดังนั้นการศึกษาจะต้องมีการออกแบบและมาตรการป้องกัน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน อย่างไรก็ตาม ระบบขนส่งมวลชนมีการเสนอให้เป็นรถไฟฟ้าขนาดหนักมากกว่ารถประจำทาง เพราะประสิทธิภาพดีและสามารถขนคนได้มากกว่า.


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์