แบงค์เก่าเขาเอาไปทำอะไร

หลายคนคิดว่า รัฐบาลมีเงินมากและใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายจนเปรียบดังว่าเผาเงินเล่น ที่จริงแล้วก็เป็นเช่นนั้น


เพราะรัฐบาลทั่วโลกเผาทำลายธนบัตรเก่าจำนวนหลายร้อยตันทุกสัปดาห์ แม้ธนบัตรที่มีมูลค่าสูงก็ยังมีอายุการใช้งานไม่เกิน 2-3 ปี ประเทศอังกฤษเคยใช้วิธีทำลายธนบัตรเก่าโดยการเผาทิ้ง แต่การเผากระดาษจำนวนมากทำให้เกิดมลพิษ จึงเลิกใช้วิธีเผาและเปลี่ยนเป็นวิธีป่นเป็นชิ้นเล็กๆแทน ธนาคารที่ไฮสตรีตประเทศอังกฤษกว่า 13,000 แห่ง จะแยกธนบัตรเก่าออกแล้วส่งไปยังสำนักงานใหญ่ในลอนดอน หรือที่สาขาทั้งห้าที่ตั้งอยู่ที่เบอร์มิงแฮม บริสตอล ลีดส์ แมนเชสเตอร์ และนิวคาสเซิล ธนาคารจะได้รับเครดิตเท่ามูลค่าเงินที่ส่งมาทำลาย โดยใช้เครื่องคัดธนบัตร และขนส่งโดยรถหุ้มเกราะของธนาคารไปยังโรงพิมพ์ที่เอสเสกข์ เพื่อป่นย่อยและนำไปฝัง

แต่ละวันธนบัตรที่ถูกทำลายคิดเป็นมูลค่าประมาณ 40 ล้านปอนด์หรือปีหนึ่งเกือบ 10,000 ล้านปอนด์

ธนบัตรประมาณ 1,000 ล้านใบน้ำหนักประมาณ 1,000 ตัน แต่ไม่ต้องเสียดาย เพราะรัฐบาลจะพิมพ์ธนบัตรใหม่ออกมาทดแทน แม้ว่าจะมีการปฏิบัติงานรัดกุมสักเพียงใดก็ยังไม่รอดพ้นจากเหล่ามิจฉาชีพ เมื่อปี ค.ศ.1963 มีการปล้นรถไฟที่บรรทุกธนบัตรที่เตรียมนำไปทำลายโดยกลุ่มโจรได้ปล้นธนบัตรเก่าจำนวน 2.6 ล้านปอนด์  แม้โจรจะถูกจับดำเนินคดีในเวลาต่อมา แต่คดีนี้ก็มีแง่มุมน่าฉงน เพราะธนบัตรเหล่านี้รัฐบาลเลิกใช้ไปแล้ว?


มาดูที่ประเทศไทยกันบ้าง ว่าธนบัตรมีความเป็นมาอย่างไร


มีธนบัตรออกใช้เป็นครั้งแรก เมื่อปีพุทธศักราช 2445 ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยามรัตนโกสินทร์ศก 121 โดยในระยะแรกต้องสั่งพิมพ์จากต่างประเทศ จนกระทั่งปี 2512 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรเป็นผลสำเร็จ จึงเริ่มพิมพ์ธนบัตรใช้เองภายในประเทศ การจัดทำและนำธนบัตรออกใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของธนาคารแห่งประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว ทั้งนี้ การออกใช้ธนบัตรต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ ต้องมีทุนสำรองเงินตราหนุนหลังเต็มมูลค่าของธนบัตรออกใช้เสมอ
  

หากใครมีธนบัตรเก่า หรือชำรุด สามารถแลกคืนได้ที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศ (ให้บริการเฉพาะวันพุธเท่านั้น)

และการแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุดในทุกกรณี ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธปท.เป็นผู้ควบคุมการออกธนบัตร และทำลายธนบัตรที่ชำรุด ได้มีประชาชนหลากหลายกลุ่มมาขอธนบัตรชำรุดเพื่อนำไปเป็นมวลสารในการผลิตองค์จตุคามรามเทพ เนื่องจากเห็นว่าเป็นเศษธนบัตรจึงน่าจะช่วยเรื่องความเป็นมงคล


ทาง ธปท.เห็นว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำเศษธนบัตรนำไปดำเนินการดังกล่าว

เพราะธนบัตรเก่าเหล่านี้ผ่านการใช้งานมานาน จึงสกปรกและมีเชื้อโรคจำนวนมาก ซึ่งไม่น่าจะดีนักที่นำไปเป็นองค์ประกอบในวัตถุมงคล ซึ่งแม้ ธปท.จะให้เหตุผลแล้วแต่ก็ยังคงมีการเข้ามาขอเศษธนบัตรกันอย่างต่อเนื่อง แต่เปลี่ยนวัตถุประสงค์การนำไปใช้ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะนำไปเป็นมวลสารในการผลิตองค์จตุคามฯเช่นเดิม



เรื่องความเชื่อ ความศรัทธา ห้ามกันยากจริงๆ


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์