ทำไมรถเมล์ต้องเติม ก ไก่

เคยสงสัยกันบ้างมั้ยว่าเลขสายรถประจำทางบางสายทำไมต้องมี ก. ต่อท้าย

แต่ก็มีผู้สงสัยสอบถามมาว่า ทำไมรถเมล์บางสายจะต้องมีทั้งหมวดเลขหลัก และเส้นทางหมายเลขเดียวกัน แล้วมีตัว ก ไก่ ต่อท้าย และบางคนก็ให้ข้อสังเกตว่า ในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ซึ่งติดอันดับฮอตฮิตที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเที่ยวจำนวนมากนั้น ก็น่าจะใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ มากกว่าเพื่อให้เกิดความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่อยากเปลี่ยนบรรยากาศนั่งรถเมล์ดูบ้าง จะได้สื่อสารกันเข้าใจง่ายกว่า

เรื่องนี้ได้สอบถาม พิเณศวร์ พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชน กรุงเทพ ได้คำตอบว่า


รถประจำทางบางสายที่มีทั้งสายที่มีตัวเลข และมีตัวเลขบวกกับตัว ก ไก่ต่อท้าย อย่างเช่น สาย 29 (หัวลำโพง-รังสิต) ก็มีสาย 29 ก ด้วย สาย 36 (อู่ห้วยขวาง-สี่พระยา) ก็มีสาย 36 ก หรือสาย 73 (ห้วยขวาง-สะพานพุทธ) ก็มีสาย 73 ก ด้วยนั้น เนื่องจากรถสายที่มี ก ไก่ ต่อท้ายจะเป็นรถที่วิ่งในเส้นทางเดียวกับสายตัวเลขหลักประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 20 เปอร์เซ็นต์จะไปวิ่งในถนนอื่นที่ไม่เหมือนกับสายตัวเลขหลักเดิม โดยอาจจะต่างตรงเส้นทางช่วงต้นสาย กลางสาย หรือปลายสาย ก็ได้ ดังนั้นผู้ที่จะเดินทางก็จะต้องจดจำจุดหมายของตนเองให้ชัดเจนเพื่อจะได้โดยสารรถได้ถูกต้อง
ส่วนที่ทำไมตัวอักษรต่อท้ายจะต้องเป็นตัว ก ไก่ นั้น ผอ.พิเณศวร์ ว่าเรื่องนี้เคยมีการทักท้วงมาบ้างเหมือนกัน

แต่เนื่องจากมีกลุ่มผู้รักษาภาษาไทยต้องการให้ใช้ตัวอักษรไทย จึงกลายเป็นใช้อักษร ก ไก่ ต่อท้าย เหมือนกับที่ปรากฏให้เห็นกันจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามในส่วนของรถโดยสารที่วิ่งเข้า-ออกจากสนามบินสุวรรณภูมิ ก็มีเฉพาะสายที่เป็นตัวเลขอย่างเดียวและสายที่มีตัวอักษรต่อเป็นอักษร เอ ในภาษาอังกฤษ เช่น สาย 552 (ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-คลองเตย) สาย 552 A (ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ปากน้ำ) เป็นต้น

เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์