หลังจากที่กระทรวงการคลังประกาศผลผู้ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2560 โดยจากที่มีผู้มาลงทะเบียนคนจนทั้งหมด 14,176,170 คน มีผู้ผ่านคุณสมบัติ 11,431,681 คน และไม่ผ่าน 2,744,489 คน
ขอมาสรุปว่าคนที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับสิทธิอะไรบ้าง? แล้วเจ้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนี้ ตัวบัตรทำมาจากอะไร? บัตรนี้ทำอะไรได้อีกนอกจากรับสิทธิต่างๆ? เรามาเริ่มกันเลย
ผู้มีคุณสมบัติได้รับสิทธิ จะได้รับบัตรในวันที่ 21 กันยายน นี้ และใช้งานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ทุกวันที่ 1 ของเดือน ระบบจะตัดวงเงินในบัตรที่คงเหลือจากเดือนที่ผ่านมาส่งคือเข้ารัฐ เรียกว่าเซทซีโร่บัตรกันทุกเดือน ดังนั้นผู้ถือบัตรจะได้สิทธิและสวัสดิการต่างๆ เท่ากันทุกเดือน โดยแบ่งผู้รับสิทธิออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มผู้ได้รับสิทธิที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี ได้รับวงเงินซื้อสินค้า 300 บาทต่อเดือน
2.กลุ่มผู้ได้รับสิทธิที่มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาทต่อปี (แต่ไม่เกิน 100,000บาท) ได้รับวงเงินซื้อสินค้า 200 บาทต่อเดือน
ทั้ง 2 กลุ่มได้รับสิทธิแตกต่างกันที่ยอดเงินซื้อสินค้าต่อเดือน นอกจากนี้ทั้งสองกลุ่มจะได้รับเท่าเทียมกัน
สิทธิ 1 ได้รับวงเงินซื้อสินค้า
300 บาทต่อเดือน สำหรับผู้รายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี
200 บาทต่อเดือน สำหรับผู้รายได้มากกว่า 30,000 บาทต่อปี
โดยสามารถซื้อสินค้าได้ที่ ร้านธงฟ้าประชารัฐ และ ร้านค้าที่เข้าร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ (เนื่องจากเวลาจ่ายสินค้าต้องรูดบัตร จึงต้องใช้กับร้านที่เข้าร่วม เพราะทางรัฐต้องเข้าไปติดตั้งเครื่องชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์)
สินค้าที่สามารถใช้สิทธิได้แบ่งเป็น
สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก แชมพู,
สินค้าเพื่อการศึกษา เช่น เครื่องแบบนักเรียน
วัตถุดิบเพื่อการเกษตรกรรม เช่น ปุ๋ยเคมี
ขณะนี้มีสินค้าเข้าร่วม 150 รายการ ทั้งหมดต้องราคาต่ำกว่าขายในท้องตลาด และต้องลดราคาไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
สิทธิ 2 ได้รับค่าเดินทาง
ค่ารถเมล์ - รถไฟฟ้า 500 บาทต่อเดือน
ค่ารถโดยสาร บขส. 500 บาทต่อเดือน
ค่ารถไฟ 500 บาทต่อเดือน
สิทธิ 3 ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม
45 บาท ต่อ 3 เดือน
จากการเปิดเผยของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง โครงการนี้จะต้องใช้งบประมาณ 3,615 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 41,940 ล้านบาทต่อปี โดยใช้เงินจากกองทุนประชารัฐ ซึ่งปัจจุบันจัดสรรไว้ 46,000 ล้านบาท
ตัวบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นยังไง?
เป็นบัตรพลาสติก มี Chip (ชิพ) และแถบแม่เหล็ก ขนาดตามมาตรฐานสากล
มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลเท่าระบบสากล
อายุการใช้งาน 5 ปี นับจากเดือน และปีที่ผลิต
นอกจากนี้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีคุณสมบัติเป็นกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเติมเงินลงบัตรได้ และถอนเงินในส่วนนที่เติมนี้เป็นเงินสดที่ตู้ ATM หรือธนาครได้ แบ่งบัตรเป็น 2 แบบ
1. บัตร Hybrid 2 Chips เป็น Contact Chip และแถบแม่เหล็ก Contactless Chip จะเป็นไปตามมาตรฐานกลางระบบตั๋วร่วม(แมงมุม)
1hybrid
บัตร Hybrid สำหรับผู้มีสิทธิ ที่ลงทะเบียนกับหน่วยรับลงทะเบียนเขต กทม. นนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา สมุทรปราการ นครปฐม และสมุทรสาคร
2.บัตร EMV เป็น Contact Chip และแถบแม่เหล็ก สำหรับผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนกับหน่วยรับลงทะเบียนนอกเขตจังหวัดที่ได้บัตร Hybrid
2emv
โดยบัตรทั้ง 2 ประเภทนอกจากใช้ชำระค่าสินค้าและเป็นกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ ยังใช้เพื่อยืนยันสิทธิในการรับความช่วยเหลือกับรัฐทุกครั้งในภายภาคหน้า
รัฐขอแนะนำการใช้บัตรดังนี้
1. บัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นสิทธิเฉพาะตัวบุคคลที่ระบุหน้าบัตร เว้นแต่ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถเดินทางได้ สามารถให้ผู้ดูแลเป็นผู้ใช้สิทธิแทนได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด
2. เก็บบัตรให้ดี เพื่อประโยชน์ในการรับสวัสดิการจากรัฐบาล
3. หากตรวจสอบพบผู้อื่นนำบัตรไปใช้ เจ้าของบัตรจะถูกตัดสิทธิ และผู้นำบัตรไปใช้จะมีความผิด ต้องชดใช้เงินคืนกับราชการ
ผู้ที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม หรือต้องการรับคำปรึกษา เกี่ยวกับการใช้งานบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรืออายัดบัตร สามารถติดต่อ Call Center 02 109 2345 วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 17.30 น.
แต่กรณีต้องการอายัดบัตรที่มีวงเงินคงเหลือในส่วนของกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ให้ติดต่ออายัดบัตรที่ บมจ. ธนาคารกรุงไทย 02 111 1111 ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน