ในประเทศไทยกองทุนเงินทดแทน นับเป็นก้าวแรกของการประกันสังคมไทย ที่ให้หลักประกันแก่ลูกจ้างกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน ทั้งนี้ กองทุนเงินทดแทน เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2515 ภายใต้การบริหารของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 โดยในปีแรกของ การให้ความคุ้มครอง จะครอบคลุมเฉพาะ สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไปที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ แล้วจึงค่อย ๆ ขยายความคุ้มครองออกไปจนครบทุกจังหวัด ทั่วประเทศใน วันที่ 1 กรกฎาคม 2531 จวบจนกระทั่งได้มีการผลักดันพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 2 กันยายน 2533 เป็นต้นมา
ประเทศไทยจึงมีการประกันสังคมอย่างเต็มรูปแบบ โดยลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครอง ทั้งในเรื่องการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยทุพพลภาพ และตาย ทั้งนี้เนื่องและไม่เนื่องจากการทำงาน รวมไปถึงการคลอดบุตรสงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เฉกเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ
โดยเงินประกันสังคมเป็นระบบที่บังคับให้ทุกคนออมเงินส่วนหนึ่ง (5% ของเงินเดือน) ข้อดีคือ ลูกจ้างจะจ่ายเงินประกันนี้เพียงแค่ 1 ใน 3 ส่วนเท่านั้น เพราะผู้มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ประกอบด้วย 3 ฝ่าย คือ
1. รัฐบาล
2. นายจ้าง
3. ลูกจ้าง
เรามาดูกันว่า สำนักงานประกันสังคม เขาเอาเงินที่เราจ่ายทุกเดือนไปทำอะไร ลูกจ้างอย่างเราต้องรู้และต้องศึกษาไว้ มีดังนี้
ยกตัวอย่าง เราถูกหักเงินประกันสังคมเดือนละ 750 บาท แล้วนายจ้างจ่ายสมทบ ทุกเดือนให้อีก 750 บาท ต่อคน ต่อเดือน เช่นกัน
โดยในแต่ละเดือนของประกันสังคม เงิน 750 บาท จะถูกแบ่งออกเป็น
- 225 บาท ดูแลเรื่องเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และตาย
ถ้าไม่ใช้สิทธิ เงินส่วนนี้ก็จะหายไป .. ไม่ได้คืน
- 75 บาท ใช้ประกันการว่างงาน
ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ ก็เอาเงินส่วนนี้มาใช้ในระหว่างตกงาน รอหา งานใหม่ แต่ถ้าไม่ว่างงานเลย เงินส่วนนี้ก็จะหายไป .. ไม่ได้คืน
- 450 บาท เก็บเป็นเงินออม จะได้คืนเมื่ออายุครบ 55 ปี
โดยเงื่อนไข การได้เงินก้อนสุดท้าย (เงินออม เมื่อครบ 55 ปี คืน) คือ
1. จ่ายประกันสังคม ไม่ครบ 1 ปี
ได้คืนส่วนที่จ่ายเป็นเงินก้อน เรียกว่าบำเหน็จชราภาพ
เช่น จ่ายเดือนละ 750 บาทมาโดยตลอด 10 เดือน (750 บาท จะถูกหักเป็นเงินออม 450 บาท) เมื่ออายุครบ 55 ปี จะได้คืน 450 บาท x 10 เดือน = 4,500 บาท
2. จ่ายครบ 1 ปี แต่ ไม่ถึง 15 ปี จะได้เป็นเงินก้อนเรียกว่าบำเหน็จเช่นกัน แต่จะมากกว่าข้อ 1. คือ ได้ส่วนที่นายจ้างสมทบไว้ด้วย
เช่น จ่าย 750 บาท ตลอด 7 ปี (84 เดือน) ที่จะได้รับคืนเมื่ออายุครบ 55 ปี คือ 450 บาท (ส่วนที่ตนเองจ่าย) + 450 บาท (ส่วนที่นายจ้างจ่าย) x 84 เดือน = 75,600 บาท
3. จ่ายตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
จะได้รับเป็นเงินรายเดือน เรียกว่า บำนาญ-ชราภาพ โดยคำนวณ 2 กรณี คือ
- กรณีจ่ายครบ 15 ปีเต็ม จะได้รับรายเดือน คือ 20% ของเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย สมมติว่า 60 เดือนสุดท้าย เฉลี่ยแล้วเท่ากับ 15,000 บาท จะได้รับ 20% คือ เดือนละ 3,000 บาท ไปจนตาย
- กรณีสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับโบนัสเพิ่ม 1.5% ของเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย หากครบปี เช่น จ่ายครบ 20 ปี รายเดือนที่จะได้รับ คือ
20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน + 1.5% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน x 5 ปี (จ่าย 20 ปี เกินจากที่กำหนดขั้นต่ำมา 5 ปี)
สมมติว่า เฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย เท่ากับ 15,000 บาท จะได้รายเดือน คือ (20% x 15,000 บาท ) = 3,000 บาท + (1.5% x 15,000 บาท x 5 ปี) = 3,375 บาท รวมเป็น 6,375 บาท ต่อเดือนไปจนตาย
สำหรับกรณีที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพแล้ว แต่ยังไม่ครบ 5 ปีแล้วเสียชีวิตไปก่อน จะได้รับบำเหน็จ 10 เท่า ของเดือนสุดท้าย ของ เงินบำนาญ ที่ได้รับ เช่น รับเงินรายเดือน เดือนล่าสุด 6,375 บาท พอเสียชีวิต จะได้รับ 63,750 บาท