เกิดเหตุทะเลาะวิวาทชกต่อยกันขึ้นระหว่าง สท.ตำบลท่าชนะ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานีและชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ท่ามกลางประชาชนจำนวนกว่า 300 คนที่กำลังเข้าคิวรับเงินช่วยเหลืออุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อต้นปีที่ผ่านมาเหตุการณ์ชกต่อยและความวุ่นวายเกิดระหว่างขึ้นที่อาคารอเนกประสงค์เทศบาลตำบลท่าชนะ อ.ท่าชนะจังหวัดสุราษฎร์ ขณะที่ชาวบ้านในตำบลท่าชนะกว่า 300 คนกำลังเข้ายืนเข้าคิวรอรับเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยเหตุเกิดขึ้นระหว่างผู้สื่อข่าวกำลังสัมภาษณ์ นางทุเรียน สุทธิ อายุ 68 ปี ชาวบ้านในเขตเทศบาลตำบลท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี หนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วม ที่ระบุว่าตนเองไม่มีรายชื่อในการรับเงินตอบช่วยเหลือผู้ประสบภัยและข้องใจในระเบียบการช่วยเหลือการให้เงินแต่ละรายไม่เท่ากัน ที่บางรายได้เพียง 1,000 บาท บางรายได้ 10,000 กว่าบาท
ขณะที่ผู้สื่อข่าวกำลังสัมภาษณ์อยู่นั้น นายสนอง แดงบุญ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าชนะ ได้เข้าแสดงความไม่พอใจการทำงานของผู้สื่อข่าวและเข้ามาต่อว่าชาวบ้านว่าอย่าทำเป็นการเมืองที่จะหาเรื่องมาทำลายตน จึงเกิดมีปากมีเสียงโต้เถียงกับกลุ่มชาวบ้าน ในขณะเดียวกันได้มีชายคนหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า สท.ห้อย ได้เข้ามาต่อว่าผู้สื่อข่าวและไม่ให้ถ่ายบันทึกภาพข่าวในพื้นที่ โดยอ้างว่าจะต้องขออนุญาตนายอำเภอท่าชนะ ปภ. และนายกเทศมนตรีเทศบาลเสียก่อนจึงจะทำข่าวได้ ทำให้นายวรพรรณ เลขพล ชาวบ้านที่ไม่มีรายชื่อไม่ได้รับเงินช่วยเหลือไม่พอใจจึงมีปากเสียงกันขึ้นจน สท.ห้อยบันดาลโทสะชกต่อยชาวบ้าน เกิดความวุ่นวายขึ้นประมาณ 5 นาที ขณะเดียวกันระหว่างเกิดเหตุนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าชนะได้ใช้มือปิดเลนส์กล้องและพยายามดึงกล้องผู้สื่อข่าวไม่ให้บันทึกภาพ ผู้สื่อข่าวที่อยู่ในเหตุการณ์ทั้งหมดพยายามเข้าห้ามปรามเรื่องจึงยุติ และการแจกจ่ายเงินช่วยเหลือจึงดำเนินการต่อไปได้นายวรพรรณ ชาวบ้านที่ถูกชกหน้า กล่าวว่าจากเหตุน้ำท่วมที่ผ่านมาตนได้รับผลกระทบมีเครื่องเครื่องมือทางการเกษตรเสียหายหมด ตนได้ยื่นเรื่องเอกสารให้ทางเทศบาลไปทั้งหมดแต่กลับไม่มีรายชื่อจึงไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่ในทางกลับกันบางบ้านได้รับความช่วยเหลือครัวเรือนละกว่า 10,000 บาทแต่บางครัวเรือนได้รับแค่เพียง 1,000 บาททั้งที่บ้านก็อยู่ติดกัน จึงข้องใจว่าทางหน่วยงานเอาอะไรมาเป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจวัดให้ความช่วยเหลือ นายวรพรรณ ยังระบุว่ายังมีชาวบ้านจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบแต่กลับไม่ได้รับการช่วยเหลือจึงของให้ทางราชการทบทวนมาตรการการช่วยเหลือใหม่ขณะที่นายภานุวัฒน์ พิริเยสยางกูร รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าชนะได้ชี้แจงว่า ชาวบ้านยังไม่เข้าใจระบบการช่วยผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเทศบาลไม่ได้เป็นผู้พิจารณา ส่วนเรื่องรายชื่อตกหล่นอาจเป็นเรื่องการยื่นรายชื่อซ้ำซ้อนและแจ้งความเสียหายไม่ตรงประเด็นที่ทางราชการกำหนดจึงทำให้ไม่ได้รับการช่วยเหลือจึงเกิดความไม่พอใจ