จากกรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนัดไต่สวนพยานจำเลยที่อัยการสูงสุด (อสส.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 กรณีละเลยไม่ดำเนินการระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งทำให้รัฐเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท
" ความเห็นดังกล่าวเป็นการตอบคำถามของรัฐบาลในที่ประชุมไม่มีการบันทึกไว้ ส่วนการตั้งกระทู้ถามเรื่องการระบายข้าวในการอภิปรายในสภา น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้นำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทุกครั้ง และได้สั่งการให้นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ขณะนั้น ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการระบายข้าว ดำเนินการตรวจสอบประเด็นที่มีการอภิปราย หากพบว่ามีความผิดก็ให้จับกุม อย่าไปหวาดกลัวกลุ่มอิทธิพล และรายงานต่อที่ประชุม ครม.ทุกครั้ง " นอกจากนี้ ร.ต.อ.เฉลิม ยังกล่าวอีกว่า ส่วนที่ ป.ป.ช.มีหนังสือแจ้งให้ตรวจสอบความไม่โปร่งใสของบริษัท สยามอินดิก้า จำกัด ไม่ได้รับผิดชอบในส่วนนี้ แต่ทราบว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์, คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีภารกิจโดยตรงรับผิดชอบตรวจสอบ หลังสั่งการ น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ติดตามตรวจสอบอย่างเข้มข้น โดยให้รายงานผลการตรวจสอบกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าไม่ได้ปล่อยปละละเลยหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ นอกจากกระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบการทุจริตระบายข้าวแล้วขณะเดียวกัน ป.ป.ช.ก็ได้ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนตรวจสอบทุจริตระบายข้าวควบคู่กันไปดังนั้น
" ไม่รู้จักสยามอินดิก้าฯ และนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือเสี่ยเปี๋ยง ส่วนการตรวจสอบ นายบุญทรงได้รายงานในที่ประชุม ครม.ทางวาจาว่าไม่พบการทุจริต แต่หลังจากนั้นไม่นาน คณะอนุกรรมการไต่สวนของ ป.ป.ช.มีความเห็นว่าคดีมีมูล กระทั่งวันที่ 30 มิ.ย. 2556 น.ส.ยิ่งลักษณ์มีคำสั่งปลดนายบุญทรง ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมีข้อบกพร่อง ถ้าหาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดคงไม่มีการปลด " ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว