เป็นที่ฮือฮา เมื่อมีการเผยแพร่ราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 5 มีนาคม ประกาศถอดถอนสมณศักดิ์ "พระเทพญาณมหามุนี" หรือ พระธัมมชโย วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี เนื่องด้วยเป็นผู้ถูกกล่าวหาในคดีกระทำความผิดข้อหาร่วมกันฟอกเงิน สมคบกันฟอกเกิน และรับของโจร อีกทั้งยังพัวพันคดีอื่นๆหลายฐานความผิด
เส้นทางผ้าเหลืองของภิกษุรูปนี้ ตั้งแต่วันแรกที่ก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์ จนถึงถูกถอดสมณศักดิ์ มีลำดับอย่างไร "มติชนออนไลน์" ได้รวบรวมมาให้อ่านกัน
27 สิงหาคม 2512 นายไชยบูลย์ สิทธิผล ละทิ้งทางโลก เข้าสู่ทางธรรม ออกบวชที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 ได้ฉายา "ธัมมชโย" แปลว่า "ผู้ชนะโดยธรรม" โดยมีพระเทพวรเวที หรือสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์พระธัมมชโย ได้แจ้งแก่โยมพ่อว่า "จะขอบวชไม่สึกตลอดชีวิต" ซึ่งทั้งโยมพ่อและโยมแม่ ก็ไม่ขัดข้อง ทั้งยังปลื้มปีติที่ลูกชายจะได้เป็นผู้สืบอายุพระศาสนาต่อไป
เวปไซต์สถานีโทรทัศน์ดีเอ็มซี ระบุว่า พระธัมมชโยได้กล่าวถึงอุดมการณ์ของคนในการบวชไว้ดังนี้
"การบวชเป็นพระไม่ใช่ของง่าย หาใช่ครองผ้ากาสาวพัสตร์แล้วจะเป็นพระได้ จะต้องปฏิบัติกิจวัตรของสงฆ์ซึ่งมีศีล 227 ข้อ ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย....การบวชนั้น ถ้าจะให้ได้บุญกุศล ควรจะเป็นที่พึ่งของพระศาสนาได้ด้วย ไม่ใช่บวชมาเพื่อพึ่งพระศาสนาอย่างเดียวต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2539 พระธัมมชโย ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร ตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่พระสุธรรมยานเถร
ครั้น พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชฝ่ายวิปัสนาธุระ ที่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ อธิมุตธรรมวรากร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
กระทั่ง พ.ศ. 2554 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่พระเทพญาณมหามุนี ศรีธรรมโกศล โสภณภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
4 มีนาคม 2560 โปรดเกล้าฯ ให้ถอดถอนสมณศักดิ์ จากคดีความต่างๆ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 มีนาคม สดๆร้อน