นายสืบพงษ์ กล่าวต่อว่า หากคดีนี้ศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าจำเลยยังคงเป็นผู้กระทำผิดตามคำพิพากษาศาลฎีกานั้นการรื้อฟื้นคดีจะถือเป็นที่สิ้นสุด ตาม พ.ร.บ.รื้อฟื้นคดีอาญาฯ นั้นสามารถกระทำได้เพียงครั้งเดียว แต่หากศาลฎีกามีคำวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดตามคำพิพากษาศาลฎีกาก่อนหน้านี้ จะมีสิทธิในการเรียกร้องค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ ซึ่งมีบทบัญญัติรองรับไว้อยู่แล้ว
ทั้งนี้หากศาลฎีกามีคำวินิจฉัยกลับว่าครูจอมทรัพย์ไม่ใช่ผู้กระทำความผิดสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีอาญากับผู้ใดได้บ้าง นายสืบพงษ์ กล่าวว่า ต้องพิจารณาเป็นเรื่องไปว่าเจ้าหน้าที่รัฐนั้นกระทำการในคดีโดยสุจริตหรือไม่ ยังไม่สามารถจะวินิจฉัยได้ในชั้นการรื้อฟื้นคดีอาญานี้ แต่ถ้าหากว่าศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วว่าจำเลยไม่ผิด และเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในขั้นตอนใด จะต้องยื่นฟ้องร้องเป็นคดีไป และศาลจะต้องพิจารณาในสำนวนที่มีการฟ้องร้องคดีเจ้าหน้าที่รัฐขึ้นมาใหม่อีกครั้ง