ทั้งนี้รถไฟขบวนพิเศษจะมีการปล่อยขบวนรถเที่ยวแรกออกจากสถานีรถไฟปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 22 ม.ค. เวลา 10.00 น. จำนวน 20 ตู้บรรทุกขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ซึ่งจะมีการลำเลียงขนย้ายเสบียงสัตว์ทั้งหมดไปยังสถานีปลายทางในพื้นที่ประสบภัย 4 จังหวัด ได้แก่ สถานีสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี สถานีชุมทางเขาชุมทอง จังหวัดนครศรีธรรมราช สถานีปากคลอง จังหวัดพัทลุง (นำไปส่งต่อให้จังหวัดสงขลา) และสถานีพัทลุง จังหวัดพัทลุง
"การขนส่งเสบียงสัตว์พระราชทานหญ้าแพงโกล่าแห้ง อยู่ภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการของกรมปศุสัตว์ตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่ต้องการนำความช่วยเหลือไปยังเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในภาคใต้โดยเร็วที่สุด และหลังจากนี้การรถไฟฯ จะร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ รวมถึง หน่วยงานอื่นๆ เพื่อช่วยสนับสนุนภารกิจด้านการลำเลียง ขนส่ง เครื่องอุปโภคบริโภคและเสบียงสัตว์ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ประสบภัยหลังน้ำลด รวมถึงช่วยฟื้นฟูสุขภาพสัตว์เลี้ยงของเกษตรกรอย่างเร่งด่วน"
นายวุฒิชาติกล่าวต่อว่า การรถไฟฯ ได้ตระหนักถึงความ เดือดร้อนของประชาชนคนไทยที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้ โดยจัดทำถุงยังชีพเพื่อแจกจ่ายให้ผู้ประสบอุทกภัยไปแล้ว และมอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยพร้อมกับทำหน้าที่เป็นสื่อกลางจัดตั้งศูนย์รับบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยทางภาคใต้ที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ตึกบัญชาการรถไฟ และสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) รวมถึงเปิดจุดรับบริจาคสิ่งของ ที่สถานีรถไฟอีกหลายแห่งทั่วทุกภาค เพื่อเร่งนำข้าวของ เครื่องอุปโภคที่ได้รับจากการบริจาค ไปแจกจ่ายให้กับพนัก งาน ประชาชน ทหาร หน่วยงานด้านความมั่นคง และหน่วย งานภาครัฐ ภาคเอกชนต่างๆ ผ่านรถไฟขบวนพิเศษ
นอกจากนี้ การรถไฟฯ ยังพร้อมให้ความร่วมมือสนับสนุนภารกิจ ของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และมูลนิธิต่างๆ ในการช่วยขนส่ง สิ่งของบริจาคสำหรับผู้ประสบอุทกภัย อาทิ ถุงยังชีพ ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม เรือ เสื้อชูชีพ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ