เสียหายไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้!?!เรืองไกร ป้องยิ่งลักษณ์ไม่ใช่ต้นเหตุน้ำท่วมปี 54

เสียหายไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้!?!เรืองไกร ป้องยิ่งลักษณ์ไม่ใช่ต้นเหตุน้ำท่วมปี 54

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หลังจากที่คณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่มี น.ส.สุภา ปิยะจิตติ เป็นประธาน ได้เชิญไปให้ถ้อยคำกรณีกล่าวหาว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี มีส่วนในการเกิดอุทกภัยปี 2554 ก่อนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน โดยได้ให้ถ้อยคำไปแล้วเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ที่ผ่านมานั้น ในการให้ถ้อยคำดังกล่าว ได้ตอบว่าถ้า ป.ป.ช.จะกล่าวหาว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทำให้น้ำท่วม เห็นว่าไม่ถูกต้อง เพราะต้นเหตุน้ำท่วมมีมาก่อนแล้วตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ บริหารราชการแผ่นดิน แต่ไม่บริหารจัดการน้ำหรือพร่องน้ำ คณะอนุกรรมการฯ จึงได้ขอให้ส่งพยานเอกสารหรือหลักฐานใดที่เป็นข้อมูลยืนยันว่าน้ำท่วมเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งตนให้ถ้อยคำไว้ว่า หลักฐานที่อ้างถึงต่างๆ เห็นได้จากมติคณะรัฐมนตรี ในหัวข้ออุทกภัยที่มีมาตั้งแต่ต้นปี 2553จนถึงเดือนสิงหาคม 2554 ที่นายอภิสิทธิ์ พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งคณะอนุกรรมการฯได้ขอให้ส่งหลักฐานเพิ่มเติมตามมาภายหลังด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการยืนยันการให้ถ้อยคำดังกล่าว จึงจะส่งหัวข้อมติคณะรัฐมนตรีเรื่องอุทกภัย ที่จะเป็นหลักฐานทางราชการยืนยันว่าน้ำท่วมปี 2554 มีมาก่อนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเป็นนายกรัฐมนตรี ให้แก่คณะอนุกรรมการ ป.ป.ช.ได้รับทราบอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 ธันวาคมนี้ ทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ

หากย้อนกลับไป นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมากล่าวถึงประเด็นคำร้องเรื่องการบริหารจัดการน้ำที่ ปปช. กำลังดำเนินการตรวจสอบอยู่กับความผิดพลาดเพื่อหาผู้รับผิดชอบ เนื่องจากเป็น นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล อดีต รมว. ต่างประเทศ ในรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกมากล่าวหารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ เป็นต้นเหตุวิกฤติการณ์น้ำปี 2554 ว่า สิ่งที่นายสุรพงษ์ กล่าวไปนั้นเป็นการบิดเบือนประวัติศาสตร์วิกฤติการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 อย่างสิ้นเชิง

"อดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ ยุบสภาในวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 และในวันที่ประกาศยุบสภานั้นปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล จ.ตาก ต่ำกว่าเกณฑ์กักเก็บน้ำต่ำสุดของเขื่อน ดังนั้นสิ่งนี้เป็นตัวยืนยันก่อนว่าวิกฤติน้ำปี 2554 ที่นายสุรพงษ์บิดเบือนประวัติศาสตร์นั้นไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในกราฟข้อมูลของกรมชลประทาน"

นายอรรถวิชช์ ขยายข้อมูลโดยการอ้างถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมา ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีเวลาบริหารราชการแผ่นดินอยู่เดือนเศษ เกือบ 2 เดือน ก่อนที่น้ำจะท่วมใหญ่ในช่วงเดือนตุลาคม 2554 เพราะ น.ส.ยิ่งลักษณ์เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีช่วงเดือนสิงหาคม แต่ปรากฎว่าตลอดทั้งเดือนกันยายนมีหลักฐานชัดเจนว่ามีการบริหารจัดการน้ำผิดพลาดโดยตลอด

"การกักเก็บน้ำเอาไว้ มีเอกสารยืนยันจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 6 กันยายน 2554 เป็นคำสัมภาษณ์ของรัฐมนตรีเกษตรฯ ในรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ โดยในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐบอกว่าสั่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตชะลอน้ำจาก 2 เขื่อนเพื่อให้ชาวนาเกี่ยวข้าวทัน รัฐมนตรีในรัฐบาลท่านทำแบบนี้ นายธีระ วงศ์สมุทร รมต.กระทรวงเกษตร และสหกรณ์เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมชลประทาน ประสานกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ลดการระบายน้ำในเขื่อนภูมิพล เพื่อชะลอน้ำจากแม่น้ำปิง ซึ่งจะไหลสมทบสู่แม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังให้หน่วงน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยาไม่ให้ไหลผ่านเกิน 2,390 ลบ.เมตร ต่อวินาที เพื่อให้ชาวนาในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเก็บเกี่ยวข้าวได้ทันในช่วงนี เนื่องจากคาดสถานการณ์สภาพอากาศจะเกิดฝนตกหนักลงมาอีก"


เสียหายไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้!?!เรืองไกร ป้องยิ่งลักษณ์ไม่ใช่ต้นเหตุน้ำท่วมปี 54

นายอรรถวิชช์ ย้ำด้วยว่า แหล่งที่มาของข้อมูล ถ้าทาง ปปช. หรือรัฐบาลนี้สนใจ สามารถตรวจสอบได้จากกรมชลประทาน รวมถึงองค์การมหาชน สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ และทรัพยากรเกษตร www.thaiwater.net ซึ่งสามารถดูข้อมูลรายวันได้ว่าปริมาณน้ำในขณะนั้นเป็นอย่างไร เพราะเป็นที่มาของการประชุมเรื่องบางระกำโมเดล และตามมาด้วยการปล่อยน้ำซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นวิกฤติปี 2554 ที่ต้องย้ำว่าน้ำท่วมในครั้งนั้นไม่ได้เกิดจากน้ำที่ฝนตกลงมาแล้วน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ และภาคกลาง แต่เกิดจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนใหญ่ที่ผิดพลาด

 

"ปกติแล้วเขื่อนที่ปล่อยน้ำลงมาในช่วงเดือนกันยายน จะปล่อยอยู่ประมาณ 20 - 40 ล้าน ลบ.เมตร แต่พอเข้าเดือนตุลาคม รัฐบาลยิ่งลักษณ์กลับปล่อยน้ำพรวดเดียว 100 ล้าน ลบ.เมตร นี่คือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย เพราะเป็นการปล่อยน้ำในปริมาณที่เยอะ และปล่อยกระชากลงมา เราถึงจำปี 54 ได้ว่าน้ำลงมาจากทางเหนือแล้วถึงจังหวัดไหน ทำไมวิภาวดีรังสิตจึงกลายเป็นทางส่งน้ำไปได้ เพราะการปล่อยน้ำที่มีปริมาณมากเกินไป เนื่องจากการกักเก็บไว้ในช่วงเวลาเดือนเศษ เกือบ 2 เดือนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนั่นเอง เพื่อเป็นการยืนยันเรื่องนี้อีกครั้งโดยวันพรุ่งนี้ผมจะเอาเอกสาร และแผ่นกราฟต่างๆ ส่งให้ ปปช. เพื่อประกอบในการพิจารณาในวันนี้ (26 ก.ย.) "

 

ประเด็นคำถามก็คือ ข้อมูลของนายอรรถวิชช์มีรายละเอียดข้อเท็จจริงอย่างไร ซึ่งจากการตรวจค้นพบว่าเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2554 เคยมีการพูดถึงเรื่องนี้ในระหว่างอภิปรายเรื่องวิกฤตอุทกภัย โดยเป็นทางด้านนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง ปชป. ได้ลุกขึ้นอภิปรายพร้อมฉายเพาเวอร์พอยต์ ประกอบเป็นตารางสรุปอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของกรมชลประทาน โดยระบุว่า การบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์มีความเสี่ยงผิดพลาด โดยอ้างอิงไปถึงเฟซบุ๊กของนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2554 โพสต์บอกว่า อุปสรรคในการจัดการน้ำปีนี้เกิดจากการพร่องน้ำในเขื่อนใหญ่น้อยเกินไป หากสามารถพร่องเหลือครึ่งเขื่อน จะทำให้ปัญหาเบาลง และเหตุที่มีการพร่องน้ำไว้น้อยเกินไป เพราะต้องการเก็บน้ำไว้ปลูกข้าวปีละ 3 ครั้ง หากปล่อยน้ำจะทำให้เกษตรกรเสียหายประมาณ 7 พันล้านบาท รัฐบาลจึงไม่ปล่อยน้ำลงลุ่มเจ้าพระยา นี่คือการยอมรับข้อเท็จจริง ???

นายนิพิฏฐ์ ระบุด้วยว่ามีข้อมูลยืนยันพบไม่มีการปล่อยน้ำให้เป็นไปตามธรรมชาติ โดยนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรกร ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2554 พูดว่า ได้สั่งให้กรมชลประทานประสานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลดการระบายน้ำเขื่อนภูมิพลและหน่วงน้ำไม่ให้เกิน 2,090 ลบ.ม.ต่อวินาที เพื่อให้ชาวนาได้เก็บเกี่ยวข้าวในช่วงดังกล่าว นอกจากนี้ วันที่ 8 กันยายน 2554 นายธีระ เดินทางอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยาพร้อมกับนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษา รมว.เกษตร โดยหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอยุธยาลงคำสัมภาษณ์ของนายบรรหารที่ระบุที่มาดู เพื่อให้เห็นว่าบางบาลได้รับการแก้ปัญหาแล้วปี 2555 จะไม่ท่วมแล้ว และได้สั่งให้กรมชลประทานจัดการน้ำที่อำเภอบางไทรให้ดี โดยให้คุมน้ำไม่ให้ไหลเกิน 3,000 ลบ,ม./วินาที และกรมชลประทานต้องกักน้ำในเขื่อนภูมิพลไว้ไม่ให้ปล่อยมามากเกินไป จนถือเป็นข้อยืนยันได้ว่ามีนการเบี่ยงเบนการไหลตามธรรมชาติของน้ำและกักน้ำไว้ น้ำจึงไหลออกทุ่งมาท่วม กทม.โดยไม่ปล่อยผ่านไปทางจังหวัดสุพรรณบุรี

จากนั้น นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตร ชี้แจงว่า เรื่องการบริหารจัดการน้ำ ต้องดูตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ที่ฝ่ายค้านยกตัวเลขน้ำในแต่ละช่วงนั้น เรียนว่าการบริหารจัดการในแต่ละเขื่อนจะมีหลักปฏิบัติ โดยต้องบริหารให้อยู่ระหว่างเกณฑ์สุดและสูงสุด เว้นแต่บางสถานการณ์ที่มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนอย่างไร ส่วนที่ไม่มีการระบายน้ำออกจากเขื่อนเพราะช่วงนั้นเริ่มมีการเพาะปลูก ถ้าจำได้เมื่อปี 2553 ในรัฐบาลที่แล้ว เขื่อนภูมิพลและสิริกิตต์เก็บน้ำได้เพียงร้อยละ 31 ทำให้มีน้ำใช้การได้ราว 500 ล้านลบ.ม.เท่านั้น ตอนนั้นตนจึงประกาศเลื่อนการทำนาปีออกไป ทั้งนี้หลังเดือนมิถุนายน 2554 เป็นต้นมามีพายุเข้าหลายลูก และร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตลอด ทำให้ฝนตกมากกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ ทำให้ปริมาณน้ำทั้งเหนือและท้ายเขื่อนมีมาก

 

"แล้วในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2554 ลุ่มน้ำยมก็ท่วม ลุ่มน้ำน่านก็ท่วม ในวันนั้นจะให้เขื่อนสิริกิตต์ระบายน้ำลงมาซ้ำเติมพี่น้องอีกหรือครับ ไม่ว่าผมอยู่ในรัฐบาลไหนผมก็ต้องให้ทำอย่างนี้ เพราะการพยากรณ์กรมอุตุนิยมวิทยาบอกเราล่วงหน้าได้แค่สัปดาห์เดียว ถ้าทุกคนคาดการณ์ได้หมด เหมือนขงเบ้งที่รู้ดินฟ้าอากาศ ก็ไม่ต้องมานั่งเถียงกันอย่างนี้"

 

นายธีระระบุด้วยว่า กรณีอ้างถึงคำให้สัมภาษณ์สั่งให้ชะลอการปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพลนั้นก็เป็นเรื่องจริง เพราะตอนนั้นเราชะลอการโหลดน้ำลงเจ้าพระยา เพราะไม่ว่าที่ไหนหรือทุ่งไหนจะเกี่ยวข้าว เราก็ต้องทำแบบนี้ อยู่รัฐบาลที่แล้วผมก็ทำ เพราะประชาชนกำลังจะเกี่ยวข้าว ...


CR.tnews

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์