คลิปนิสิตจุฬาฯ รุ่นสุดท้ายที่รับปริญญาจากในหลวง และคนที่รับปริญญาคนสุดท้ายเผย แบบนี้

คลิปนิสิตจุฬาฯ รุ่นสุดท้ายที่รับปริญญาจากในหลวง และคนที่รับปริญญาคนสุดท้ายเผย แบบนี้

ความรู้คือรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ ตลอดระยะเวลา 7 ทศวรรษของการทรงงานเพื่อประชาชนชาวไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะที่จะขจัดช่องว่างของระบบการศึกษา จึงทรงมีพระราชดำริริเริ่มโครงการต่างๆ อาทิ ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน, พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดารตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ถึงอุดมศึกษา, ทรงจัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล เพื่อสนับสนุนด้านการศึกษาแก่นิสิตนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่นในด้านต่างๆ ได้มีโอกาสศึกษาต่อในต่างประเทศ และนำวิชาความรู้กลับมาพัฒนาชาติบ้านเมือง, โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่างๆ และอีกมากมายนับพันโครงการ

การสนับสนุนด้านการศึกษาในรูปแบบของการสร้างขวัญและกำลังใจที่สำคัญมาก และถือเป็นพิธีที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก นั่นคือ พิธีพระราชทานปริญญาบัตร แม้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชกรณียกิจมากมายเพียงใด พระองค์ยังคงสืบสานพระราชประเพณีพระราชทานปริญญาบัตร ที่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

คลิปนิสิตจุฬาฯ รุ่นสุดท้ายที่รับปริญญาจากในหลวง และคนที่รับปริญญาคนสุดท้ายเผย แบบนี้

ความรู้คือรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ ตลอดระยะเวลา 7 ทศวรรษของการทรงงานเพื่อประชาชนชาวไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะที่จะขจัดช่องว่างของระบบการศึกษา จึงทรงมีพระราชดำริริเริ่มโครงการต่างๆ อาทิ ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน, พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดารตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ถึงอุดมศึกษา, ทรงจัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล เพื่อสนับสนุนด้านการศึกษาแก่นิสิตนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่นในด้านต่างๆ ได้มีโอกาสศึกษาต่อในต่างประเทศ และนำวิชาความรู้กลับมาพัฒนาชาติบ้านเมือง, โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่างๆ และอีกมากมายนับพันโครงการ

การสนับสนุนด้านการศึกษาในรูปแบบของการสร้างขวัญและกำลังใจที่สำคัญมาก และถือเป็นพิธีที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก นั่นคือ พิธีพระราชทานปริญญาบัตร แม้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชกรณียกิจมากมายเพียงใด พระองค์ยังคงสืบสานพระราชประเพณีพระราชทานปริญญาบัตร ที่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


ย้อนกลับไปในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พิธีพระราชทานปริญญาบัตรเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่เวชบัณฑิต (แพทยศาสตรบัณฑิต) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เริ่มพระราชทานปริญญาบัตรตั้งแต่ พ.ศ. 2493 และเคยมีผู้คำนวณว่า หากเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับนั่งครั้งละประมาณ 3 ชั่วโมง เท่ากับทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทานใบปริญญา 470,000 ครั้ง จึงมีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ลดการพระราชทานปริญญาบัตรเฉพาะระดับมหาบัณฑิตขึ้นไป แต่มีพระราชกระแสตอบว่า “เสียเวลายื่นปริญญาบัตรให้บัณฑิตคนละ 6-7 วินาทีนั้น แต่ผู้ที่ได้รับนั้นมีความสุขเป็นปีๆ เปรียบกันไม่ได้เลย” นอกจากนี้ก็ยังรับสั่งว่า “จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง”

 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองเป็นระยะเวลาเกือบ 50 ปี และต้องยุติพระราชกิจลง ด้วยพระชนมายุมากขึ้นประกอบกับทรงพระประชวร โดยสำหรับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพระองค์ทรงเสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16-17 กรกฎาคม พ.ศ.2541


นางสาวโอบเอื้อ อิ่มวิทยา บัณฑิตคนสุดท้ายของจุฬาฯ ที่รับพระราชทานปริญญาบัตรจากในหลวง


และนิสิตคนสุดท้ายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ก็คือ นางสาว โอบเอื้อ อิ่มวิทยา จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพระองค์ได้พระราชทานพระโอวาท ความตอนหนึ่งว่า “การรู้จักประมาณสถานการณ์ ได้แก่การรู้จักพิจารณาสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้เห็นชัดถึงความเป็นมาและเป็นอยู่ แล้วคาดว่าควรจะเป็นอย่างไรในอนาคต ในการปฎิบัติงาน ยิ่งประมาณสถานการณ์ได้ถูกต้องเพียงใด ก็จะยิ่งทำให้งานที่ทำสำเร็จผลสมบูรณ์และได้ประโยชน์คุ้มค่ามากขึ้นเพียงนั้น”

ตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ทรงครองราชย์ พ่อหลวงของเราได้พิสูจน์ให้ประจักษ์แล้วว่า ความพยายามด้วยพลังใจที่แน่วแน่ กอปรด้วยความรู้ที่เป็นดั่งเข็มทิศนำทาง จะสร้างผลสำเร็จที่น่าชื่นชมได้เสมอ ดังเช่นพระบรมราโชวาทที่คุ้นหูคนไทยว่า “ถึงจะมองไม่เห็นฝั่ง เราก็ต้องพยายามว่ายอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร โภคะทั้งหลาย มิได้สำเร็จด้วยเพียงคิดเท่านั้น”

เหล่าปวงข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมนำพระราชจริยวัตรอันงดงามใส่ชีวิต พระบรมราโชวาทใส่ดวงจิต เพื่อดำเนินตามรอยเท้าของพ่อไปตราบนานเท่านาน

ขอขอบคุณ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลและภาพ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์