พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นักปราชญ์ไอซีที
“การสื่อสารเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในการพัฒนาสร้าง สรรค์ ความเจริญก้าวหน้า รวมทั้งการรักษาความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศด้วย ยิ่งสมัยปัจจุบันที่สถานการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ ย่อมมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ”
พระราชปรารภเกี่ยวกับการสื่อสารฯ พระราชทาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2526
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับการพัฒนาโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในด้านวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทั้งคอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคมก็เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์ ประยุกต์ ซึ่งพระองค์ให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าศาสตร์แบบอื่นๆ
ความเชี่ยวชาญและใช้ประโยชน์ด้านคอมพิวเตอร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น อาจสังเกตได้จาก ส.ค.ส. พระราช ทานพรปีใหม่ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปรุงด้วยพระองค์เองโดยใช้คอมพิวเตอร์ ทั้งยังทรงสร้างขึ้นใหม่ติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี เพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพารและประชาชน ปัจจุบันนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมที่เรียกว่าอินเทอร์เน็ต ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีผู้ใช้ทั่วโลก
ทรงใช้คอมพิวเตอร์ในการพิมพ์งาน ทรงพระอักษรส่วนพระองค์ ทรงสนพระราชหฤทัยศึกษาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ต่าง ๆ และได้สร้างโปรแกรมใหม่ๆ ขึ้นมารวมทั้งทรงสนพระราชหฤทัยในเทคนิคการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์มาก บางครั้งทรงเปิดเครื่องออกดูระบบต่างๆ เช่น โปรแกรมภาษาไทย ซียู ไรท์เตอร์ ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการพิมพ์งาน ทรงพระอักษรส่วนพระองค์ ได้แก่ พระราชกรณียกิจ หรือพระราชทานพระราชนิพนธ์ต่าง ๆ เช่น เรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ หรือพระมหาชนก เป็นต้น
การประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมในประเทศไทย
นับแต่ประเทศไทยก่อตั้งโครงการสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียมในปี 2504 หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้นำเอาเทคโนโลยีนี้ไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง โดยในระยะเริ่มต้นเป็นการใช้ข้อมูลในลักษณะภาพพิมพ์หรือฟิล์ม เพื่อการตีความด้วยสายตาเป็นหลัก ต่อมาก็มีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลจากเทปคอมพิวเตอร์โดยเริ่มจากระบบเมนเฟรม หรือระบบคอมพิว เตอร์ขนาดใหญ่และพัฒนาสู่ระบบมินิมาถึง Work Station และ Personal Computer ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
โดยหน่วยงานที่นำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ได้แก่ กรมป่าไม้ กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชา การเกษตร กรมชลประทาน กรมทรัพยากรธรณี กรมแผนที่ทหาร กรมประมง สำนักงานเศรษฐกิจทางการเกษตร และมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นต้น
โครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
ดาวเทียมไทยคม นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมของไทยก้าวสู่ยุคแห่งความล้ำหน้าและได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนองทางด้านการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม จัดทำขึ้นในรูปแบบของการถ่ายทอดการเรียนการสอนผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน สามารถถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษาขยายเครือข่ายไปยังโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดทั่วประเทศ และพระราชทานชื่อรายการ “ศึกษาทัศน์” ออกอากาศทุกวัน
ด้านวิทยุสื่อสาร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริให้มีการพัฒนาด้านระบบวิทยุสื่อสารอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถรับส่งได้ไกลยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงใช้เครื่องมือสื่อสารพกติดตามพระองค์ เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจต่าง ๆ อยู่เสมอ เพราะสิ่งที่พระองค์ขาดไม่ได้คือการสดับรับฟังข่าวทุกข์สุขของประชาชน เช่น ในระหว่างการเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรได้ทรงพบว่ามีผู้ใดที่กำลังป่วยเจ็บจำเป็นต้องบำบัดรักษา จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะแพทย์ผู้ตามเสด็จดูแลตรวจรักษาทันที
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนการใช้ระบบการสื่อสารทางวิทยุเพื่อการแพทย์มาโดยตลอด ดังนั้น เมื่อโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าได้รับอนุญาตให้จัดตั้งระบบการสื่อสารวิทยุขึ้น จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราช ทานคำแนะนำทางเทคนิควิทยุให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องระบบสายอากาศ วิธีป้องกันขจัดการรบกวนจากสถานีวิทยุอื่น การทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของศูนย์ควบคุมเครือข่ายของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิธีปฏิบัติและวินัยในการควบคุมเครือข่ายมาโดยตลอด.