เปิดเรื่องเล่า พระเศวตสุรคชาธารฯ ช้างเผือก ประจำรัชกาลที่ 9

เปิดเรื่องเล่า พระเศวตสุรคชาธารฯ ช้างเผือก ประจำรัชกาลที่ 9

ในความเชื่อที่มีมาแต่โบราณของไทยถือว่า "ช้างเผือก" เป็นเครื่องเชิดชูเกียรติประดับบารมีของพระมหากษัตริย์ เมื่อมีช้างเผือกเข้ามาสู่พระบารมีจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีสมโภชขึ้นระวาง พระราชทานนามเป็น "พระยาช้างต้น หรือนางพระยาช้างต้น" และให้ยืนโรงช้างประจำพระราชฐาน พระมหากษัตริย์พระองค์ใด มีช้างเผือกมาก จะเชื่อกันว่ามีพระบุญญาบารมีมาก

สำหรับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีการพบช้างเผือกประจำรัชกาลเช่นกัน โดยวันนี้ (17 ตุลาคม 2559) เราจะขอพาย้อนไปดูเรื่องราวความน่ารักของพระเศวตสุรคชาธารฯ หรือคุณพระเศวตเล็ก กับแม่เบี้ยว สุนัขกตัญญูรู้คุณ

ซึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้กล่าวถึงคุณพระเศวตเล็กไว้ว่า พระเศวตสุรคชาธารฯ หรือคุณพระเศวตเล็ก ถูกพบโดยนายเจ๊ะเฮง หะระดี กำนันตำบลการอ อ.รามัน จ.ยะลา โดยโขลงช้างเดินทางเข้ามาใกล้หมู่บ้านในเวลากลางคืน พอตอนเช้าก็พบเห็นลูกช้างพลัดฝูงอยู่ใต้ถุนบ้าน สันนิษฐานว่าแม่ช้างจะรู้ว่าลูกช้างตัวนี้เป็นช้างสำคัญ จึงนำมาส่งที่หมู่บ้าน เพื่อเข้ามาสู่พระบารมี ตั้งแต่ยังไม่หย่านม

เมื่อนายเจ๊ะเฮงได้เลี้ยงดูลูกช้างนั้นไว้ วันหนึ่งมีสุนัขตัวเมียป่วยหนักใกล้ตาย ได้กระเสือกกระสนมาบริเวณที่คุณพระเศวตเล็กกำลังอาบน้ำอยู่ ได้กินน้ำที่ใช้อาบตัวคุณพระอาการป่วยก็หายไป คงเหลือเพียงอาการปากเบี้ยว จึงได้ชื่อว่า "นางเบี้ยว"

โดยนางเบี้ยวก็กตัญญูรู้คุณคอยติดตามคุณพระเศวตเล็กไม่ยอมห่าง ด้านคุณพระเศวตเล็กเองก็เมตตาเอ็นดูนางเบี้ยว ถือว่านางเบี้ยวเป็นหมาของคุณพระเศวตเล็ก

กระทั่งเมื่อถึงคราวที่คุณพระเศวตเล็กต้องเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ เพราะเป็นช้างต้นขึ้นระวางแล้ว ทั้งคุณพระเศวตเล็กและนางเบี้ยวก็มีอาการทุรนทุราย ซึ่งนางเบี้ยวก็ส่งเสียงร้องทั้งกลางวันและกลางคืน จะตามคุณพระเศวตเล็กมาด้วย

เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท จึงมีพระราชกระแสว่า ช้างทั้งตัวยังเอาไปได้ ทำไมหมาอีกตัวเดียวจะเอาไปไม่ได้ ให้เอาหมาไปด้วยเถิด สงสารมัน อย่าไปพรากมันเลย

ด้วยเหตุนี้เอง นางเบี้ยวจึงได้ติดตามเข้ามาอยู่กับคุณพระเศวตเล็กในสวนจิตรลดาด้วย และเป็นที่รักชอบของคนในวัง เมื่อเข้ามาอยู่ในรั้วในวังก็เลื่อนฐานะขึ้นเป็น "แม่เบี้ยว" บางคนเรียก "คุณเบี้ยว" ด้วยซ้ำไป และได้ออกลูกออกหลานไว้ที่โรงช้างนั้นเป็นจำนวนมากมาย

ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีสมโภช พระเศวตสุรคชาธารฯ ที่ จ.ยะลา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2511 พระราชทานนามเต็ม ว่า..

"พระเศวตสุรคชาธาร บรมนฤบาลสวามิภักดิ์
ศุภลักษณเนตราธิคุณ ทศกุลวิศิษฏพรหมพงศ์
อดุลยวงศ์ตามพหัตถี ประชาชนะสวัสดีวิบุลยศักดิ์
อัครสยามนาถสุรพาหน มงคลสารเลิศฟ้าฯ"

และเมื่อปี พ.ศ. 2520 พระเศวตสุรคชาธารฯ ได้ล้มลง ณ โรงช้างต้น


เปิดเรื่องเล่า พระเศวตสุรคชาธารฯ ช้างเผือก ประจำรัชกาลที่ 9


เปิดเรื่องเล่า พระเศวตสุรคชาธารฯ ช้างเผือก ประจำรัชกาลที่ 9


เปิดเรื่องเล่า พระเศวตสุรคชาธารฯ ช้างเผือก ประจำรัชกาลที่ 9


เปิดเรื่องเล่า พระเศวตสุรคชาธารฯ ช้างเผือก ประจำรัชกาลที่ 9


เปิดเรื่องเล่า พระเศวตสุรคชาธารฯ ช้างเผือก ประจำรัชกาลที่ 9


เปิดเรื่องเล่า พระเศวตสุรคชาธารฯ ช้างเผือก ประจำรัชกาลที่ 9


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, เฟซบุ๊ก ธรรมมะ ทำไม, สัตว์เลี้ยงในประวัติศาสตร์ไทย, Phongsakorn Hongjun

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์