รูดปื๊ดๆ ทำคนเมืองเครียด เหตุหมุนเงินใช้หนี้ไม่ทัน

วานนี้ (1 ส.ค.) นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวภายหลังร่วมงานประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2550สุขภาพจิต : ชีวิตคนเมือง” (Mental Health in City) ว่า

จากการวิจัย
การพัฒนาและทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับใหม่ ของกรมสุขภาพจิต ซึ่งเป็นการสำรวจระดับประเทศของประชากรที่มีอายุ 15-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและเขตชนบท จำนวน 2,405 คน พบว่า ตัวเลขความสุขและความพึงพอใจในชีวิตของประชากรทั้ง 2 กลุ่มมีความใกล้เคียง คือ คนเมืองจะมีความสุข คิดเป็นร้อยละ 5.5 คนชนบทอยู่ที่ร้อยละ 5.6 ขณะที่ความพึงพอใจ คนเมืองวัดความพึ่งพอใจได้ ร้อยละ 70.1 คนชนบทพอใจร้อยละ 70.6 แต่ปัญหาสุขภาพทางกาย คนเมืองจะมีปัญหาความเจ็บป่วยมากกว่า คิดเป็นร้อยละ 28.7 ขณะที่คนชนบทอยู่ที่ร้อยละ 24 ด้านปัญหาสุขภาพจิต คนเมืองจะมีปัญหาจากโรคทางจิตเวช ร้อยละ 0.43 ขณะที่คนชนบท อยู่ที่ร้อยละ 0.35 
 

ทางด้าน นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ผู้อำนวยโรงพยาบาลศรีธัญญา กล่าวว่า


ปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนเมือง คือ การใช้เงินล่วงหน้า โดยเฉพาะการใช้บัตรเครดิต ขณะนี้มีประชาชนที่มีความเครียดจากการใช้บัตรเครดิตเพิ่มสูงขึ้นในช่วง
4-5 ปีจากนี้ เนื่องจากเป็นการใช้บัตรเครดิตแบบไม่รู้เท่าทัน บางคนมีถึง 3-4 ใบ และแต่ละใบมีกำหนดวันชำระเงินที่แตกต่างกัน ซ้ำยังเปิดให้ชำระเงินแบบขั้นต่ำ จึงทำให้มีการนำเงินอนาคตมาหมุนเวียนใช้ กลายเป็นหนี้สะสม ก่อให้เกิดความเครียดจากการหมุนเงินไม่ทัน 

 “สังคมเมืองมีความหลากหลายและโตเร็วมาก ทำให้คนที่อยู่ในเมืองปรับตัวได้ไม่ทัน ต่างจากวิถีชีวิตคนชนบทที่มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่ช้ากว่า คนเมืองถูกกระตุ้นด้วยกระแสบริโภคนิยมและการอำนวยความสะดวกทางการเงินทั้งเอทีเอ็ม บัตรเครดิต ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อของทั้งที่ไม่มีความจำเป็นผอ.รพ.ศรีธัญญา กล่าว

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์