นพ.อำนวย กล่าวอีกว่า ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคจะมีการคุมเข้มเป็นพิเศษใน 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.หญิงตั้งครรภ์ 2.ผู้ป่วยไข้ออกผื่น เป็นกลุ่มก้อน จะมีการลงพื้นที่เพื่อสอบสวนโรคทันที 3.ทารกที่คลอดแล้วมีศรีษะเล็ก และ4.ผู้ป่วยที่มีอาการปลายประสาทอักเสบ โดยจะเน้น 4 มาตรการ คือ
1.การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
2.การเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา
3.การเฝ้าระวังทารกแรกเกิดที่มีความพิการแต่กำเนิด
4.การเฝ้าระวังกลุ่มอาการทางระบบประสาท
จะมีการเพิ่มความเข้มข้นในการออกไปสอบสวนโรค หากมีผู้ป่วยอาการเข้าข่ายจะส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสอบสวนโรคทันทีและอย่างจริงจัง รวมถึง ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศบริเวณสนามบินจะมีการเฝ้าระวังเข้มแข็งในกรณีที่มีผู้เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคแล้วมีอาการไข้ด้วย อีกทั้ง มีการประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ระหว่างนักระบาดวิทยาภาคสนามของประเทศอาเซียนบวก 3 เพื่อปรึกษาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการร่วมกันในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อซิกา
นอกจากนี้ ประชาชนต้องช่วยกันกำจัดทั้งตัวยุงและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งยุงลายบ้านและยุงลายสวน เพราะหากสามารถกำจัดยุงลายได้จะคุมได้ถึง 3 โรค ได้แก่ ไข้เลือดออก ไข้ซิกาและไข้ปวดข้อชิคุณกุนยา ส่วนนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินไปในพื้นที่เสี่ยงเมื่อเดินทางกลับมายังประเทศไทยแล้วมีอาการป่วยเป็นไข้ ออกผื่น ให้แจ้งกรมควบคุมโรค ส่วนหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค 0 คนไทยป่วยทั้งจากเชื้อใน-นอกประเทศ