จนเป็นที่ถกเถียงและวิจารณ์ในสังค ถึงความไม่เหมาะสมนั้น ล่าสุดทางสำนักงาน พระพุทธศาสนา ได้มีการนำประกาศของคณะสงฆ์ ปี 2476 ที่ถูกเขียนไว้เพื่อเป็นกฎระเบียบข้อบังคับหรือขนบธรรมเนียมประเพณีที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อควบคุมพฤติกรรมพระสงฆ์หากเข้าข่าย การกระทำผิดพระธรรมวินัย เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น เพื่อมีอาจาระอันงาม นำไปสู่การประพฤติปฏิบัติชอบ เป็นการเอื้อเฟื้อต่อการประพฤติธรรมทางจิตออกมาเผยแพร่
นอกจากนี้ยังมีประกาศห้ามพระภิกษุเป็นหมอเสน่ห์ยาแฝดอาถรรพณ์ ด้วย และหากพบว่าพระภิกษุรูปใดประพฤติล่วงละเมิดกฎระเบียบนี้ ให้เจ้าอาวาสหรือเจ้าคณะจังหวัดในท้องที่ลงโทษให้สึกทันที และรายงานคณะกรรมการมหาเถรสมาคมตามลำดับ
เนื้อหามีดังต่อไปนี้
ด้วยข่าวว่า มีภิกษุตั้งตนเป็นหมอทำยาเสน่ห์ยาแฝดให้คฤหัสถ์ทำแก่บุคคลตามประสงค์ของเขา การทำเสน่ห์ยาแฝดอาถรรพณ์ จะเป็นไปได้จริงหรือไม่ก็ตาม แต่ภิกษุทำย่อมไม่ควรอย่างยิ่ง เพราะการทำเช่นนั้นให้แก่ผู้ใด ผู้นั้นหาได้ประพฤติสุจริตไม่ มุ่งแต่จะประพฤติทุจริตฝ่ายเดียวแต่มีความประสงค์จะให้แลเห็นว่าพฤติสุจริต จึงต้องหาผู้ทำเสน่ห์ยาแฝดแก่ผู้ที่ตนประสงค์จะได้หลงเชื่อว่าตนเป็นคนดี หรือแกล้งจะทำให้ผู้ใดผู้หนึ่งถึงความพินาศ ถ้าบุคคลประพฤติโดยซื่อสัตว์สุจริตเป็นปกติแล้ว หาต้องการผู้รู้ทำเสน่ห์ยาแฝดให้ใครๆหลงไม่
การทำเสน่ห์ยาแฝดนั้นไม่น่าเชื่อว่าเป็นได้จริง ถ้าภิกษุผู้ทำโง่เขลา เข้าใจเสียว่าอาจเป็นได้จริง ก็คงมีโทษเพราะล่วงละเมิดพระพุทธบัญญัติห้าม ถ้ารู้ตัวอยู่ว่าไม่อาจเป็นได้จริงแต่อาศัยมุ่งโลกามิส ก็เชื่อว่าลวงให้คนหลงมีโทษมากขึ้นอีก
ส่วนประกาศพระสังฆราชฉบับปี 2495 ระบุว่า การกระทำเช่นนี้มิใช่ข้อปฎิบัติตนในทางพระพุทธศาสนา และสรุปว่าการแอบอ้างยึดเอาเป็นอาชีพอันมิชอบเป็นการเสื่อมเสียแก่คณะสงฆ์และพระพุทธศาสนา