ชื่อ "ทีเอ็นที" นี้ ตามการเรียกชื่อของ IUPAC คือ methyl-1,3,5-trinitrobenzene โดยทั่วไปจะคุ้นกับชื่อ "ไตรไนโตรโทลูอีน" (trinitrotoluene) มากกว่า
สารเคมีดังกล่าวนี้ มีการสังเคราะห์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยโจเซฟ วิลแบรนด์ (Joseph Wilbrand) เมื่อ ค.ศ. 1863 และการผลิตปริมาณมากครั้งแรก เกิดขึ้นในเยอรมนี เมื่อ ค.ศ. 1891
ด้วยการใช้งานอย่างกว้างขวาง ทำให้ทีเอ็นทีเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการวัดความเข้มของระเบิด และวัตถุระเบิดอื่นๆ โดยเทียบประสิทธิภาพกับทีเอ็นที เรียกว่า "TNT equivalent"
คุณสมบัติ
trinitrotoluene มีลักษณะเป็นผลึกสีเหลือง เรียวคล้ายเข็ม ละลายในน้ำได้น้อยแต่จะละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น ether,acetone,benzene และ pyridine เนื่องจากมีจุดหลอมเหลวต่ำกว่า 80.35 °C ดังนั้นจึงสามารถหลอมละลาย TNT โดยใช้ความร้อนจากไอน้ำ TNT มีความเป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์เมื่อถูกผิวหนังจะทำให้เกิดการแพ้ได้
*ความสามารถในการละลายน้ำ: 130 มก/ลิตร ที่อุณหภูมิ 20 °C และเมื่อนำสารละลายนี้ไปต้ม จะเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง *แรงดันไอน้ำที่ 20 °C: 1.5-6 mbar
วัตถุระเบิดคือ ?
สารซึ่งเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาทางเคมีแล้วจะเปลี่ยนสภาพจากเดิมกลายเป็นแก็สอย่างรวดเร็วเกิดเป็นความร้อนและแรงดันจำนวนมหาศาลทุกทิศทาง
วัตถุระเบิดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.วัตถุระเบิดแรงต่ำ มีคุณสมบัติดังนี้
-เปลี่ยนสภาพจากเดิมเป็นแก๊สได้ช้า400เมตร/วินาที( 1,300 ฟุต/วินาที )เรียก " การลุกไหม้อย่างรุนแรง "ได้แก่ดินปืน ดินส่งกระสุน สารไพโรเทคนิคสามารถเกิดการระเบิดได้เมื่อเป็น" การเผาไหม้อย่างรุนแรงในที่บังคับ "การระเบิดของประทัด พลุ บั้งไฟ
2.วัตถุระเบิดแรงสูง มีคุณสมบัติดังนี้
-เปลี่ยนสภาพจากเดิมเป็นแก๊สได้อย่างรวดเร็ว1,000 -8,500 เมตร/วินาที (3,280 -27,888 ฟุต/วินาที)
เรียก " การปะทุ " เช่น TNT., C.4, PETN, ไดนาไมท์ การปะทุทำให้เกิด " คลื่นการปะทุ " ซึ่งเป็นสาเหตุของ การระเบิดพ้องคือการระเบิดอย่างต่อเนื่อง
วัตถุระเบิดถูกแบ่งตามการใช้งานเป็น 2 แบบใหญ่ คือ
1. วัตถุระเบิดทางพานิช ที่ใช้ในงานพลเรือน เช่นการระเบิดตึก ระเบิดเหมือง หรือระเบิดภูเขา เป็นระเบิดที่มีการขออนุญาตและมีขั้นตอนการผลิตอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์และกฎหมาย
2.วัตถุระเบิดทางทหาร มีใช้ในการทหารและในการสงครามเท่านั้น ส่วนใหญ่จะใช้ดิน TNT