แนวทางที่ 1 รื้อสะพานรัชโยธิน ก่อสร้างทางลอด (Underpass) ทดแทนและก่อสร้างสะพานแยกในแนวทางพหลโยธิน (ตามรูปสัญญาเดิม)
แนวทางที่ 2 ไม่รื้อสะพานรัชโยธิน และยกโครงสร้างรถไฟฟ้าจากเดิม 16 เมตร ยกเพิ่มขึ้นอีก 2 เมตร เป็น 18 เมตร ให้พ้นความสูงของสะพานรัชโยธินและสร้างสะพานข้ามแยกในแนวถนนพหลโยธิน ต่อเนื่องไปยังแยกเกษตรเพิ่ม
แนวทางที่ 3 รื้อสะพานรัชโยธิน ก่อสร้างสะพานข้ามแยกในแนวถนนรัชดาภิเษก ข้ามโครงสร้างรถไฟฟ้าและสร้างสะพานแยกในแนวถนนพหลโยธิน ทั้งนี้ความสูงของสะพานข้ามแยกตามแนวถนนรัชดานั้น จะมีความสูงถึง 24 เมตร
แนวทางที่ 4 ไม่รื้อสะพานรัชโยธิน และดำเนินการก่อสร้างเฉพาะโครงสร้างรถไฟฟ้า (ไม่ก่อสร้างสะพานข้ามแยกในแนวถนนพหลโยธิน)
พล.อ.ยอดยุทธ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมบอร์ดได้มีความเห็นเลือกแนวทางที่ 2 คือทางบอร์ดลงความเห็นว่า ไม่ควรรื้อสะพาน เพราะเล็งเห็นว่าจะกระทบกับประชาชนมากที่สุด อีกทั้งแนวทางที่ 2 ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายการก่อสร้างทางลอดประมาณ 1,200 ล้านบาท ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวจะมีการสร้างสะพานข้ามแยกพหลโยธินที่อยู่ใต้โครงสร้างรถไฟฟ้า โดยใช้ตอม่อเดียวกับรถไฟฟ้าและสะพานจะทำเป็นถนน 2 เลน ให้รถสามารถวิ่งสวนกัน โดยอนาคตอาจทำให้รถสามารถวิ่งเชื่อมต่อถึงแยกเกษตรเลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ รฟม.จะมีการหารือกับกทม.และหน่วยงานอื่นเพิ่มเติมเพื่อเร่งดำเนินการต่อไป .