รุ้งหลายชั้น แปลกมั้๊ย?

รุ้งหลายชั้น แปลกมั้๊ย?

นายมติพล ตั้งมติธรรม เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวว่า

กรณีที่เมื่อเวลาประมาณ 18.10-18.20 น. วันที่ 8 มิถุนายน บริเวณเหนือท้องฟ้า จ.เชียงใหม่ หลังฝนตกหนัก ได้เกิดปรากฏการณ์รุ้งหลายชั้นขึ้นเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนชาวเชียงใหม่อย่างมากว่าจะเป็นการส่งสัญญาณบอกเหตุอะไรหรือไม่นั้น ทาง สดร.โดยตนได้บันทึกภาพดังกล่าวเอาไว้ได้

"ขออธิบายว่า รุ้งเป็นเพียงปรากฏการณ์ในชั้นบรรยากาศของโลก และเป็นเพียงปรากฏการณ์ของแสง ไม่ได้มีอยู่จริง นั่นคือจะไม่สามารถเดินทางไปเหยียบรุ้งได้ การจะเกิดรุ้งจะต้องมีอยู่สองปัจจัย ปัจจัยแรกคือจะต้องมีละอองน้ำอยู่ในอากาศ และปัจจัยที่สองคือจะต้องมีแสงอาทิตย์ โดยทั่วไปจะสังเกตได้ดีช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่ต่ำจึงจะสามารถสังเกตเห็นรุ้งได้ ละอองน้ำในอากาศจะประพฤติตัวคล้ายกับปริซึมที่หักเหและสะท้อนแสงอาทิตย์ เป็นมุม 42 องศ จึงพบรุ้งเป็นส่วนของวงกลมจากศูนย์กลางของจุดตรงข้ามดวงอาทิตย์ เนื่องจากศูนย์กลางของรุ้งจะอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์เสมอ ดังนั้นหากดวงอาทิตย์อยู่สูงเกินไปจะไม่สามารถเห็นรุ้งได้ นอกจากนี้ ในบางครั้งจะสามารถเห็นรุ้งได้อีกชั้นหนึ่ง ที่จางกว่าและใหญ่กว่า 10 องศา จะพบว่ารุ้งที่สองนี้จะหันสีกลับด้านจากรุ้งชั้นในเสมอ" นายมติพลกล่าว

นายมติพลกล่าวว่า เรียกรุ้งชั้นใน ชั้นนอก ว่ารุ้งปฐมภูมิกับรุ้งทุติยภูมิ ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าในรุ้งปฐมภูมิที่มีสีเข้มกว่าจะมีหลายๆ สีสลับกันอีก เรียกว่าซุปเปอร์นัมเมอรี่ เรนโบว์ เกิดขึ้นเนื่องจากการแทรกสอดของแสง ซึ่งปรากฏการณ์นี้สามารถเกิดขึ้นได้หากมีปัจจัยองค์ประกอบดังที่กล่าวมาครบ ไม่ใช่ปรากฏการณ์แปลกประหลาดหรือแสดงถึงการบอกเหตุใดๆ เลย" นายมติพลกล่าว

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์