ความคืบหน้าคดีฉ้อโกงเงินสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น โดยเฉพาะในรายของพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ซึ่งอยู่ในความสนใจของคนไทยทั้งประเทศว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีทุจริตครั้งนี้หรือไม่
จับตา!! บทสรุปคดีฉ้อโกงสหกรณ์เครดิตยูเนียนฯ พระธัมมชโย ต้องรับผิดหรือไม่??
เริ่มต้นจากประเด็นที่1 ก็คือคดีอาญาซึ่งจุดเริ่มต้นเกิดขึ้นมาจากการที่นายศุภชัย ศรีศุภอักษร ผู้ต้องหาฉ้อโกงเงินสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่นกว่า15,000ล้านบาท จำนวนเงินหลายร้อยล้านบาทได้โอนเงินไปให้กับบุคลและคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกายโดยตรง ซึ่งในประเด็นนี้เองนายศุภชัยก็ได้ออกมายอมรับแล้วว่าตนเองได้โอนเงินไปให้กับพระและวัดพระธรรมกายจริง แต่อ้างว่าไม่ได้เป็นเงินที่มาจากการฉ้อโกง
ทั้งนี้จากการตรวจสอบของสำนักข่าวทีนิวส์ก็พบว่านายศุภชัยได้มีการโอนเงินไปให้กับพระและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกายจริงตามที่กล่าวอ้างรายละเอียดการสั่งจ่ายและเบิกเงินจากเช็คของสหกรณ์เครดิตยูเนียน คลองจั่น รวมยอดเงินรวมเช็คทั้งหมด 15 ฉบับ 814,780,000 บาท
ประกอบด้วยเช็คสั่งจ่ายผู้รับเงินพระราชภาวนาวิสุทธิ์
3มีนาคม 2552 จำนวน16,780,000บาท
6กันยายน 2552 จำนวน100,000,000บาท
6กันยายน 2552 จำนวน 1,000,000 บาท
6ตุลาคม 2552 จำนวน 6,000,000 บาท
15ตุลาคม 2552 จำนวน100,000,000 บาท
6 มีนาคม 2553 จำนวน20,000,000บาท
8 พฤษภาคม 2553 จำนวน66,000,000 บาท
27 สิงหาคม 2553 จำนวน20,000,000บาท
2 กันยายน 2553 จำนวน100,000,000 บาท
15 กุมภาพันธ์ 2554 จำนวน 5,000,000 บาท
เช็คสั่งจ่ายผู้รับเงินวัดพระธรรมกาย
28 กันยายน 2552 จำนวน 50,000,000 บาท
15 ตุลาคม 2552 จำนวน 100,000,000 บาท
15 ตุลาคม 2552 จำนวน 100,000,000 บาท
15 ตุลาคม 2552 จำนวน 100,000,000 บาท
เช็คสั่งจ่ายผู้รับเงินมูลนิธิรัตนคีรี
9 กุมภาพันธ์ 2553 จำนวน 30,000,000 บาท
นอกจากนี้พบว่ามีการจ่ายเช็คของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น จำกัด ให้พระครูปลัดวิจารย์ ระหว่างปี 2552 - 2555 จำนวน22 ครั้ง รวมเป็นเงิน 119,020,000 บาท
19 กุมภาพันธ์ 2552 จำนวน 300,000บาท
2 กุมภาพันธ์ 2553 จำนวน 1,000,000บาทและ23,220,000บาท
4 มิถุนายน 2553 จำนวน 14,000,000บาท
22 มิถุนายน 2553 จำนวน 21,000,000บาท
29 กรกฎาคม 2553 จำนวน 5,000,000บาท
3 สิงหาคม 2553 จำนวน 2,000,000บาท
18 สิงหาคม 2553 จำนวน 1,000,000บาท
26 สิงหาคม 2553 จำนวน 6,000,000บาท
21 กันยายน 2553 จำนวน 10,000,000บาท
7 ตุลาคม 2553 จำนวน 1,000,000บาท
15 ตุลาคม 2553 จำนวน 500,000บาท
17 ธันวาคม 2553 จำนวน 9,000,000บาท
17 กุมภาพันธ์ 2554 จำนวน 3,000,000บาท
25 มีนาคม 2554 จำนวน 3,000,000บาท
5 เมษายน 2554 จำนวน 4,000,000บาทและ1,000,000บาท
18 เมษายน 2554 จำนวน 3,000,000บาท
20 เมษายน 2554 จำนวน 1,000,000บาท
7 ตุลาคม 2554 จำนวน 1,000,000บาท
27 ธันวาคม 2554 จำนวน 2,000,000บาท
6 มกราคม 2555 จำนวน 2,000,000บาท
ทั้งนี้ จากข้อมูลการตรวจสอบเส้นทางการเงิน ของดีเอสไอ ยังพบข้อมูลการโอนเงินจากนายศุภชัยไป ยังพบพระในวัดพระธรรมกาย อีก คือ พระวิรัช 100 ล้านบาท และ พระมนตรี 100 ล้านบาท
สำหรับเรื่องราวที่ปรากฏหากว่าจะมีผู้ที่รับผิดทางกฎหมายอาญาก็จะต้องแยกส่วนดังต่อไปนี้
1. นายศุภชัย ฉ้อโกงสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่นจริงหรือไม่
2. บุคลและคระบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกายมีส่วนรู้เห็นกับการฉ้อโกงนี้หรือไม่
ประมวลกฎหมายอาญา
หมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา
มาตรา 59 บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำ โดยเจตนาเว้นแต่จะได้กระทำความโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมาย บัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณี ที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มี เจตนา
กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและ ในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการ กระทำนั้น
ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิดจะ ถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำ นั้นมิได้
กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่ กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจัก ต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้น โดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย
เมื่อพิจารณาจากหมวด4 เรื่องความรับผิดในทางอาญา องค์ประกอบสำคัญเรื่องเจตนา ซึ่งก็ต้องไปพิสุทธิ์ว่าบุคคลที่รับโอนเงินมาจากนายศุภชัยมีเจตนาหรือไม่ หรือมีลักษณะที่กระทำไป ถือเป็นพฤติการณ์ย่อมเล็งเห็นผลหรือไม่
ทั้งนี้ถ้าหากว่าการกระทำของนายศุภชัยและบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าองค์ประกอบ ก็จะถูกตั้งข้อกล่าวหาฉ้อโกงประชาชน ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกสูงถึง3ปีเลยที่เดียว
ประมวลกฎหมายอาญา
ความผิดฐานฉ้อโกง
มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความ อันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอก ลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สามหรือ ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกทั้งนายศุภชัยและทนายของพระธัมมชโย จะพยายามออกมาให้ข่าวว่าพระธัมมชโยไม่ได้รู้เรื่องการโอนเงินดังกล่าว ซึ่งในความหมายก็คือว่า ไม่ได้มีเจตนารับเงินดังกล่าวนั่นเอง
นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น ตอบคำถามผู้สื่อข่าว ที่แสดงให้เห็นถึงชั้นเชิงการเอาตัวรอด ทางข้อกฎหมายระบุว่า
"ถามว่ามีอะไรเป็นหลักฐาน ก็รายงานของผู้สอบบัญชี และการรับรองของที่ประชุมใหญ่ในปีนั้นๆ และการบริจาค ก็ไม่ได้นำปัจจัยไปบริจาคส่วนตัว แต่ไปยืนเข้าแถวเหมือนสาธุชนทั้งหลาย นำเช็คใส่ถุง ใส่ซองไปถวายตามปกติ"
"สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่อยากให้สื่อมวลชนเข้าใจว่า วัดพระธรรมกาย และ พระธัมมชโย ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้นกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นจำกัด อยากจะชี้แจงประเด็นนี้ให้หนักแน่น ส่วนเรื่องอื่นๆ คงต้องรออีกระยะหนึ่ง เพราะต้องรอดูผลของคดี"
"วันนี้อยากจะเน้นย้ำว่า พระธัมมชโย ไม่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ เงินที่เราเอาไปบริจาค ก็หยิบยืมมาถูกต้อง และก็คืนกับสหกรณ์ในปี 2552 และ 2553 เรียบร้อยแล้ว"
"เราไม่ได้บอกกับใครที่ไหนว่าเราทำอะไร เพราะเราทำหลายที่ อย่างอนุกรรมการแก้ปัญหาระดับชาติก็เป็นมานาน ก็ไม่ได้บอกใคร บางทีเราทำงานอาสาสมัคร ก็ว่างก็ทำ มีวาระก็ไป"
เช่นเดียวกับกรณีเมื่อวันที่ 10 มี.ค.นายสัมพันธ์ เสริมชีพ ทนายผู้รับมอบอำนาจจากพระเทพญาณมหามุณี หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เดินทางเข้ายื่นหนังสือขอเลื่อนกำหนดการเข้าให้ปากคำของพระธัมมชโยตามหมายเรียก พร้อมกับชี้แจงว่าพระธัมมชโย ไม่เคยรับเช็คหรือเห็นเงินบริจาค เพราะในการบริจาคจะมีการใส่ซองห่อถุงทองถวาย จากนั้นจะมีพระหยิบซองใส่กล่อง และให้ฝ่ายการเงินนำไปเข้าบัญชี ยอมรับว่ามีการบริจาคเข้าทั้งบัญชีวัด และบัญชีของพระธัมมชโยโดยตรง
ประเด็นทางข้อกฎหมายโดยเฉพาะเรื่องของเจตนา ซึ่งจะต้องไปพิสูจน์ทราบกันว่า พระจากวัดพระธรรมกายมีส่วนรู้เห็นกับการฉ้อโกงเงินของสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่นหรือไม่
แต่ไม่ว่าวัดพระธรรมกายหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวัด จะถูกดำเนินคดีอาญาหรือไม่ เนื่องจากอาจหลุดพ้นคดี เพราะสามารถยืนยันได้ว่าไม่มีเจตนา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเงินที่รับโอนมาจะไม่ต้องโอนคืนกลับไปให้กับสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น เพราะตามประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ได้ระบุถึงกรณีดังกล่าว เอาไว้ก็คือ ลาบที่มิควรได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 406 บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ ก็ดีหรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสีย เปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นจำต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา อนึ่งการรับสภาพหนี้สินว่ามีอยู่หรือหาไม่นั้น ท่านก็ให้ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อชำระหนี้ด้วย
บทบัญญัติอันนี้ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงกรณีที่ได้ทรัพย์มาเพราะเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้นหรือเป็นเหตุที่ได้ สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้วนั้นด้วย
มาตรา 412 ถ้าทรัพย์สินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้นั้นเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ท่านว่าต้องคืนจำนวนนั้น เว้นแต่เมื่อบุคคลได้รับไว้โดยสุจริตจึงต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาวัดพระธรรมกายก็ได้มีการคืนเงินจำนวนหนึ่งให้กับสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่นเป็นที่เรียบร้อย แต่สืบเนื่องจากคดีฉ้อโกงประชาชนเป็นคดีที่ยอมความกันไม่ได้ และเป็นคดีอาญา เพราะฉะนั้นก็ต้องจับตามองกันต่อไปว่าบทสรุปของคดีนี้จะลงเอยกันอย่างไร
ขอบคุณข่าวสารดีๆจาก ::tnews