พื่อให้เกิดความชัดเกี่ยวกับคดีการบุกรุกพื้นที่ป่าและสปก. ของเครือข่ายโบนันซ่าก็ต้องย้อนกลับมาตรวจสอบประเด็นข้อกฎหมาย ว่าหลังจากนี้ทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการต่อไปยังไง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายและครอบครัวเตชะณรงค์ก็จะได้ใช้สิทธ์ในการต่อสู้ในทางข้อกฎหมายเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างเต็มทีเช่นเดียวกัน
ในการตรวจสอบเรื่องดังกล่าว เริ่มต้นจากรางวัดที่พิสูจน์ว่าที่ดินในการครอบครองของโบนันซ่าได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทับที่สปก.หรือป่าสงวนหรือไม่
ทั้งนี้นับเฉพาะที่ดินของสนามแข่งรถอินเตอร์เนชั่นแนล โบนันซ่า สปีดเวย์ พบว่าณ.ขณะนี้สปก.ได้ตรวจรางวัดแล้วพบว่าเป็นที่ของสปก 71ไร่ ซึ่งสปก.ก็เตรียมฟ้องยึดที่คืนและเรียกค่าเสียหายต่อไป
นอกจากนี้ยังมีการเปิดเผยจากหน่วยป้องกันรักษาป่า นม.1 (ปากช่อง)ได้ออกมาระบุว่าอินเตอร์เนชั่นแนล โบนันซ่า สปีดเวย์ ได้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนอีกจำนวน22ไร่ โดยรวมทั้ง2ส่วน คือป่าสงวนและสปก.เป็นทั้งหมด103ไร่ ซึ่งกรณีของพื้นที่ป่าสงวนก็สามารถดำเนินการตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ในมาตรา25
มาตรา ๒๕ ระบุว่า เมื่อได้กำหนดป่าใดเป็นป่าสงวนแห่งชาติและรัฐมนตรีได้แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาตินั้นแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) สั่งให้ผู้หนึ่งผู้ใดออกจากป่าสงวนแห่งชาติ หรือให้งดเว้นการกระทำใด ๆ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ในกรณีที่มีข้อเท็จจริงปรากฏหรือเหตุอันควรสงสัยว่า มีการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) สั่งเป็นหนังสือให้ผู้กระทำผิดต่อพระราชบัญญัตินี้ รื้อถอน แก้ไขหรือทำประการอื่นใดแก่สิ่งที่เป็นอันตราย หรือสิ่งที่ทำให้เสื่อมสภาพในเขตป่าสงวนแห่งชาติภายในเวลาที่กำหนดให้
(๓) ยึด ทำลาย รื้อถอน แก้ไขหรือทำประการอื่น เมื่อผู้กระทำผิดไม่ปฏิบัติตาม (๒) ไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิดหรือรู้ตัวผู้กระทำผิดแต่หาตัวไม่พบ
ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าว และได้เสียค่าใช้จ่ายเพื่อการนั้น ให้ผู้กระทำผิดชดใช้หรือออกค่าใช้จ่ายนั้นทั้งหมด หรือให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำทรัพย์สินที่ยึดไว้ได้ออกขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นตามที่เห็นสมควร เพื่อชดใช้ค่าใช้จ่ายนั้น และให้นำความในมาตรา ๑๓๒๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแก่เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินนั้นโดยอนุโลม
(๔) ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เห็นสมควร ทั้งนี้ เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายแก่ป่าสงวนแห่งชาติในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน
นอกจากนั้นจากการตรวจสอบยังพบว่าทางฝ่ายของตระกูลเตชะณรงค์ได้อ้างเอกสารสิทธิ์นส.3ก.จำนวน55ไร่ ซึ่ง ณ.ขณะนี้ก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าเอกสารสิทธิ์ดังกล่าวมีที่มาที่ไม่ถูกต้อง ทางเจ้าหน้าที่ก็จะต้องไปตรวจสอบกับสำนักงานที่ดินอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชศรีมาว่าออกเอกสารสิทธิ์นส.3ก.ได้อย่างไร
ทั้งนี้ทางตำรวจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็จะเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายดังกล่าวนี้เพื่อดำเนินการฟ้องร้องกับเจ้าของที่ต่อไป แต่ก็เป็นที่ทราบกันดี ว่าในขณะนี้ได้มีการประกาศคำสั่งของหัวหน้าคสช. คำสั่งที่4/2558 เพราะฉะนั้นก็จะมีเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามารวมกันตรวจสอบเพื่อให้การดำเนินการของตำรวจเป็นไปด้วยความรอบคอบและลัดกุมมากที่สุด
ไม่เพียงเท่านั้นล่าสุดคณะกรรมาการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ก็เตรียมเข้าที่จะมาตรวจสอบ โดยถ้าหากพบว่าถ้ามีทรัพย์สิ้นส่วนใดที่ได้มาจากการบุกรุกป่า ก็อาจจะต้องถูกยึดทั้งหมดอีกด้วย
พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) กล่าวว่า ปปง.ได้ส่งเจ้าหน้าที่ร่วมตรวจสอบคดีดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะนี้ผลการตรวจสอบพื้นที่บุกรุกยังไม่มีความชัดเจนว่ามีการบุกรุกจำนวนเท่าใด และเหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดบ้าง จึงอยากให้รอผลสรุปจากหน่วยงานที่ลงไปตรวจสอบทั้งหมดเพื่อให้ได้ข้อยุติ จากนั้นหากมีการส่งเรื่องมาที่ ปปง.ก็พร้อมเข้าตรวจสอบความเสียหาย
ทั้งนี้ การใช้มาตรา 3 (15) ยึดทรัพย์สินที่ได้มาจากการบกรุกทรัพยากรธรรมชาติตามกฏหมายฟอกเงิน ปปง.สามารถดำเนินการได้ทันที ไม่มีปัญหา แต่คดีต้องมีความชัดเจนก่อนเพราะกรณีโบนันซ่าแตกต่างจากการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์อื่นๆ ที่ศาลมีคำพิพากษาชัดเจน แต่กรณีการบุกรุกของโบนันซ่ายังเป็นเพียงข้อกล่าวหา จึงต้องมีการพิสูจน์ทราบอย่างไรก็ตาม ปปง.จะทำงานคู่ขนานเพื่อตรวจสอบ
พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖
มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) (๑๔) (๑๕) (๑๖) (๑๗) (๑๘) (๑๙) (๒๐) และ (๒๑) ของบทนิยามคําว่า “ความผิดมูลฐาน” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
โดย(๑๕) ระบุว่าความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ ยึดถือ หรือครอบครอง ทรัพยากรธรรมชาติหรือกระบวนการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันมีลักษณะเป็นการค้า
จากข้อมูลและข้อกฎหมายดังกล่าวทั้งหมดนี้ ทางครอบครัวเตชะณรงค์ก็มีสิทธิ์ที่จะต่อสู้ได้อย่างเต็มที่เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงทั้งหมด
ขณะที่นางทักษอร เตชะณรงค์ หรือ "แอฟ" ดาราสาว ภรรยาของนายสงกรานต์ เตชะณรงค์ เปิดเผยถึงกรณีการตรวจสอบโบนันซ่า รุกพื้นที่ป่าสงวนว่า หลังจากมีข่าวนี้ทั้งนายสงกรานต์ และนายไพวงษ์ เตชะณรงค์ ก็เครียดทุกคนพยายามทำให้ทุกอย่างถูกต้องให้ได้มากที่สุด ตนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเตชะณรงค์ อยากบอกตรงนี้ว่า ทุกคนพร้อมที่จะทำตามนโยบาย หรือข้อบังคับกฎต่างๆ ที่ผ่านมาทางครอบครัวก็มีการชี้แจงกันไปเป็นส่วนๆ เท่าที่ทราบตอนนี้เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้เรียกใครไปสอบสวนเพิ่ม ทุกอย่างก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
"ก่อนหน้านี้อาจจะมีอะไรที่ไม่ชัดเจนเนื่องจากมันตั้ง 30 ปีมาแล้ว แต่ว่าตอนนี้ถ้ามีโอกาสทำให้ถูกต้องและชัดเจนทุกคนก้พร้อม ส่วนลูกบ้านในโบนันซ่าก็มีถามบ้าง อันนี้ก็ต้องยอมรับเลยว่าลูกบ้านก็ต้องมีส่วนที่สงสัยและไม่มั่นใจ คุณสงกรานต์เองก็จะให้ความมั่นใจกับลูกบ้านว่าลูกบ้านทุกคนที่ซื้อบ้านที่โบนันซ่าทุกอย่างมีเอกสารถูกต้อง ก็คงกระทบในแง่ความไม่มั่นใจ ความสงสัย ทางคุณสงกรานต์ก็จัดการดูแลในเรื่องนี้ อาจจะโชคดีอย่างหนึ่งตรงที่ครอบครัวของคุณสงกรานต์อยู่ที่นั่นอยู่แล้ว ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น ซึ่งไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร ทุกคนก็พร้อมที่จะปฏิบัติตาม" ดาราสาวลูกสะใภ้ตระกูลเตชะณรงค์ กล่าว
ทางด้าน นายสงกรานต์ เตชะณรงค์ ที่ออกมาให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องที่ดินโบนันซ่าว่าครอบครัวซื้อที่มา 20-30 ปีแล้ว ซึ่งเป็นการให้สัมภาษณ์สะท้อนให้เห็นว่าทั้งฝ่ายผู้ครอบครองโบนันซ่าไม่ได้ใส่ใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเลยแม้แต่น้อย
มิหนำซ้ำการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวนได้สร้างความแปลกใจ ที่มีการแจ้งข้อกล่าวหาผู้จัดการดูแลสิ่งแวดล้อมกิจกรรมโบนันซ่าเขาใหญ่
จากรายงานทราบว่าขณะนี้ได้มีการแจ้งความดำเนินคดีนายนิธิศเชษฐ์ สิทธิเจริญกุล ผู้จัดการดูแลสิ่งแวดล้อมกิจกรรมโบนันซ่าเขาใหญ่ ใน 5 ข้อกล่าวหา คือ
1.ความผิดฐานบุกรุกพื้นที่ ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484
2.บุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507
3.กระทำ ความผิดตาม พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายที่ดิน
4.ผิด พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
5.ผิด พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
สำหรับ บริษัท โบนันซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล สปีดเวย์ จำกัด จดทะเบียน วันที่ 22 มีนาคม 2553 ทุน 1 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 235 หมู่ที่ 11 ถนนธนะรัชต์ ตำบลขนงพระ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา นายภูผา เตชะณรงค์ ถือหุ้นใหญ่ มีหุ้นส่วน 7 คน ซึ่งประกอบด้วย
1.นายภูผา เตชะณรงค์ อายุ 20 ปี จำนวน 9,940 หุ้น (99.40%)
2.นางประภาวัลย์ เวลาดีวงณ์ อายุ 44 ปี จำนวน 10 หุ้น
3.นายนิธิศเชษฐ์ สุทธิเจริญกุล อายุ 55 ปี จำนวน 10 หุ้น
4.น.ส.พนารัตน วรรณศิริ อายุ 39 ปี จำนวน 10 หุ้น
5.น.ส.มนันญา สุจิรภิญโญกุล อายุ 24 ปี จำนวน 10 หุ้น
6.นายสำเนาว์ สมบูรณ์ อายุ 54 ปี จำนวน 10 หุ้น
7.น.ส.พัทธมน เตชะณรงค์ อายุ 23 ปี จำนวน 10 หุ้น
เพราะฉะนั้นทั้งหมดทั้งมวลที่มการตรวจสอบพื้นที่ของโบนันซ่า เป็นเพียงขั้นตอนการกล่าวหา และพิสูจน์ข้อเท็จจริง เพราะฉะนั้นจึงอยู่ที่ฝ่ายขิงตระกูลเตชะณรงค์ว่าจะสามารถพิสูจน์ความเป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะถ้าหากได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมายและอยู่อาศัยมากว่า30ปี ก็ไม่เห็นมีอะไรที่ต้องเป็นกังวลใช่หรือไม่