นักวิชาการจีน ชี้ พฤติกรรมแย่ๆนักท่องเที่ยวจีน แก้ได้ยาก เป็นเรื่อง จิตสำนึก

นักวิชาการจีน ชี้ พฤติกรรมแย่ๆนักท่องเที่ยวจีน แก้ได้ยาก เป็นเรื่อง จิตสำนึก



หลังจากที่ทางการจีนได้ออกมาตรการ ควมคุมความประพฤตินักท่องเที่ยวจีน โดยจะมีการทำรายงานพฤติกกรรมนักท่องเที่ยวผู้ละเมิดกฎหมายเป็นเวลา 2 ปี เเต่นักวิชาการจีน ชี้ว่าควรให้การศึกษาเเละคำเเนะนำมากกว่าเพราะเป็นเรื่องจิตสำนึกส่วนบุคคล


ทางการจีนได้ออกมาตรการใหม่่เพื่อควบคุมเเละแก้ ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักท่องเที่ยวจีน ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยว ของจีนได้ประกาศว่าจะทำรายงานพฤติกกรรมของนักท่องเที่ยวจีนในเรื่องการ ฝ่าฝืนกฎจราจร พฤติกรรมไม่เหมาะสมบนเครื่องบิน การทำลายวัตถุโบราณทางประวัติศาสตร์ รวมไปถึงการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับ การพนันเเละค่้าประเวณีด้วย

โดยรายงานนี้จะถูกบันทึกโดยหน่วยงาน ระดับจังหวัดเเละหน่วยงานการท่องเที่ยวระดับชาติของจีนเป็นเวลาสองปีนับจาก วันที่กระทำผิดกฎหมาย เเต่หากมีความจำเป็นต้องยื่นคำร้องต่อศูนย์ราชการ ต่างๆหรือทำธุรกรรมทางการเงิน นักท่องเที่ยวผู้กระทำผิดก็จะได้รับอนุญาติ ให้สามารถยื่นอุทธรณ์ได้

สำหรับเหตุการณ์หลักๆที่ทำให้นักท่องเที่ยวจีนถูกกระเเสต่อต้านจากต่างชาติ มีหลายกรณี เช่น มีนักท่องเที่ยวจีนถูกจับกุมตัวในประเทศญี่ปุ่นในข้อหาล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งถูกกล่าวหาว่าได้ใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพใต้กระโปรงของหญิงสาว ซึ่งจะต้องได้รับโทษจำคุก 1 ปี หรือถูกปรับถึง 1 ล้านเยนเลยทีเดียว

อีกหนึ่งเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ในเที่ยวบินจากกรุงเทพฯไปยังมณฑลนานจิง โดยเครื่องบินต้องลงจอดฉุกเฉินทั้งๆที่เพิ่งขึ้นบินได้เพียง 90 นาทีเท่านั้น เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวจีน 2 คนได้ก่อความวุ่นวายบนเครื่องบิน


Zhang Lingyun

นาย Zhang Lingyun รองอธิการบดีวิทยาลัยการท่องเที่ยวเเห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ผู้ที่เฝ้าติดตามประเด็นพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวจีนอย่างใกล้ชิด ตั้งเเต่เกิดกรณีความวุ่นวายในเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ ให้ความเห็นว่า เขาเข้าใจจุดมุ่งหมายของมาตรการนี้ดี เเต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่ามันจะใช้ได้ผลหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องง่ายที่รัฐจะออกมาตรการต่างๆมาควบคุมพฤติกรรมที่ละเมิดกฎหมาย เเต่ทว่าเรื่องนี้ มันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ"จิตสำนึก" จึงเป็นปัญหาที่เเก้ไขยาก

นาย Lingyun ยังกล่าวอีกว่า มีพฤติกกรรมเเย่ๆหลายอย่างที่อยู่ในมาตรการใหม่นี้ เเต่ก็เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายอื่นอยู่เเล้ว เช่น การทำลายวัตถุทางประวัติศาสตร์ นั้นก็ได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายคุ้มครองทางวัฒนธรรมที่มีอยู่มานานเเล้ว

เขาเห็นว่า
ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการใหม่มาควบคุม เพราะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสำนึกเเละจริยธรรมนั้น สามารถแก้ไขได้ ผ่านการให้การศึกษาและคำแนะนำที่เหมาะสม ส่วนเรื่องที่จะทำรายงานบันทึก พฤติกรรมนักท่องเที่ยวจีนนั้นรัฐควรจัดการอย่างรอบคอบโดยที่จะต้องไม่ละเมิด สิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์