วันที่ 30 มี.ค.ที่กรมราชทัณฑ์ นายวิทยา สุริยะวงศ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวภายหลังเว็บไชต์ราชกิจจานุเบกษา
เผยแพร่พระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2558 เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เม.ย. พ.ศ.2558 พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า ผู้ต้องขังที่ได้รับสิทธิ์ตามเหลักเกณฑ์ ที่ระบุไว้ในพ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ มีทั้งสิ้น 35,000 คน ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มของผู้ต้องกักขัง ผู้ต้องขังที่พัการลงโทา อยู่ระหว่างคุมประพฤติ และผู้ต้องขังที่เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ ทางเรือนจำจะทยอยปล่อยผู้ต้องขังที่เข้าเงื่อนไขตามพ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรายละเอียดพระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ 30 มี.ค. พระราชทานอภัยโทษ
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เม.ย. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยหลักเกณฑ์ผู้ต้องขังที่มีสิทธิได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวมีดังนี้ ต้องเป็นผู้ต้องขังที่เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาบังคับใช้ หรือเป็นผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ พิการ ทุพลภาพอย่างเห็นได้ชัด เจ็บป่วยด้วยโรคที่ได้รับการตรวจรับรองเอกฉันท์ว่าไม่สามารถรักษาในเรือนจำ ให้หายได้ เช่น โรงเรื้อน ไตวายเรื้อรัง มะเร็ง เอดส์ โดยจะต้องเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษตามกำหนด
กรณี หญิงต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรกไม่ว่าความผิดเดียวหรือหลายคดีซึ่งต้องรับโทษ จำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษตามกำหนด
เป็นคนที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 60 ปี ซึ่งเหลือโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือคนที่มีอายุเกิน 70 ปีขึ้นไป เป็นผู้ต้องโทษจำคุกครั้งแรกและมีอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ โดยต้องได้รับโทษาจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 เป็นผู้ต้องขังเด็ดขาดชั้นดีเยี่ยม ซึ่งมีโทษจำคุกเหลือไม่เกิน 2 ปี
สำหรับ ผู้ต้องขังเด็ดขาดที่ไม่ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว แต่ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษมีดังนี้
ผู้ต้องขังเด็ดขาดต้องโทษประหารชีวิต ให้เหลือโทษจำคุกตลอดชีวิต ผู้ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตให้เปลี่ยนเป็นจำคุก 50 ปี แล้วให้ลดโทษตามลำดับชั้น ประกอบด้วย ชั้นเยี่ยม 1 ใน 5 ชั้นดีมาก 1 ใน 5ชั้นดี 1 ใน 6 ชั้นกลาง 1 ใน 7 ส่วนผู้ต้องขังคดียาเสพติดโทษจำคุกไม่เกิน 8 ปี มีหลักเกณฑ์ดังนี้ ชั้นเยี่ยมลดโทษ 1 ใน 7 ชั้นดีมาก 1 ใน 8 ชั้นดี 1 ใน 9 และชั้นกลาง 1 ใน 10