ร้านหมูปิ้ง-ไก่ย่าง งานเข้า ′กทม.′ ขอให้เปลี่ยนเตาไฟใหม่ หวังลดปัญหามลพิษอากาศ
กทม.เดินหน้าขอความร่วมมือร้านค้าทางเท้า ไก่ย่าง หมูปิ้งกว่า 1,000 แห่ง เปลี่ยนเตาไฟใหม่ ใช้แบบลดการสัมผัสระหว่างเปลวไฟ และเนื้อสัตว์ หวังลดปัญหามลพิษอากาศ ก่อภัยสุขภาพ มะเร็งลำไส้
สถานการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพฯในขณะนี้พบว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็กและโอโซนเป็นมลพิษที่ส่งผล กระทบต่อสุขภาพของประชาชนนั้น ส่วนใหญ่มาจากปัญหาการจราจรและการก่อสร้าง อีกส่วนหนึ่งเกิดจากร้านอาหารปิ้งย่างเนื้อสัตว์ที่ขายบนทางเท้า ปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 1,000 ร้าน ซึ่งควันไฟจากการปิ้งย่าง ผู้ค้าจะสูดดมควันโดยตรง และประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงได้รับการสูดดมควันด้วย ซึ่งกลุ่มควันดังกล่าวก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศคือ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และสารอินทรีย์ระเหยง่าย และเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีในอากาศแล้วจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ มีผลต่อการทำงานของปอด เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคปอดอักเสบเรื้อรัง อีกทั้งสารอินทรีย์ระเหยง่ายบางตัวจัดเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย
ซึ่งถูกออกแบบมาให้ตะแกรงวางเนื้อสัตว์ห่างจากตัวเปลวไฟ เพื่อลดโอกาสการสัมผัสโดยตรง เพราะหากมีการสัมผัสเปลวไฟมากๆ ความร้อนจะทำให้ไขมันจากเนื้อสัตว์ตกลงบนถ่านไฟ จนก่อให้เกิดควันที่เป็นมลพิษ แต่หากใช้อุปกรณ์แบบใหม่จะลดปัญหาได้ถึง 4 เท่า เมื่อเทียบกับการปิ้งย่างเนื้อสัตว์จากเตาทั่วไป ขณะนี้ได้นำร่องอบรมการใช้เตาปิ้งย่างลดมลพิษกับผู้ค้าริมทางเท้าไปแล้วบางส่วน และอยู่ระหว่างการอบรมให้ทั่วพื้นที่กรุงเทพฯต่อไป อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือเตาดังกล่าวมีราคาสูงประมาณ 1,000 บาท ทำให้กลุ่มผู้ค้าต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนรูปแบบเตาปิ้งย่าง
อาหารปิ้งย่างประเภทหมูปิ้ง ไก่ย่าง เป็นที่นิยมอย่างมากของประชาชน เนื่องจากหาซื้อได้ง่ายและสะดวกต่อการรับประทาน และหลายคนยังชอบส่วนที่ไหม้เกรียมและกรอบซึ่งต้องระวังอย่างมาก หากรับประทานส่วนที่ไหม้เป็นจำนวนมากและบ่อยครั้ง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งสำไส้สูง เนื่องจากมีสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งจากเปลวไฟที่เกิดจากไขมัน ดังนั้น ขอเตือนให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการรับประทานส่วนที่ไหม้เกรียม อีกทั้งต้องระวังเรื่องความสะอาดของอาหารตามทางเท้าด้วย อาจมีสารปนเปื้อนและเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคทางเดินอาหาร