พนักงานบริษัทหลายพื้นที่ โวยไม่เป็นธรรม ห้ามลูกจ้างเล่นโซเชี่ยลเวลางาน สั่งไล่ออกได้ทันที ชี้ห้ามยุ่งของสำนักงานยังไหว แต่ห้ามแตะสมาร์โฟนตัวเองยอมไม่ได้ อาจเป็นช่องให้นายจ้างเอาเปรียบ แนะควรว่ากล่าวตักเตือนก่อน ขณะที่บางส่วนเห็นด้วย เหตุขาดสมาธิจนงานเสีย
จากกรณีมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่2564/2557เผยแพร่ในโลกออนไลน์
โดยเนื้อหา เกี่ยวข้องกับลูกจ้างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสารในสถานที่ทำงาน ซึ่งเป็นของนายจ้างไปเล่นแชทหรือเล่นอินเตอร์เน็ตในเวลาทำงานซึ่งนายจ้าง สามารถไล่ลูกจ้างออกจากงานได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและลูกจ้าง เรียกค่าสินไหมทดแทนไม่ได้จนสร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องดังกล่าวอย่าง ล้นหลามตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
เมื่อ วันที่ 9 ก.พ.เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวผู้สื่อข่าว “เดลินิวส์”ลงพื้นที่สอบถามพนักงานบริษัทเอกชนใน จ.เชียงใหม่
ซึ่ง น.ส.ปอง(นามสมมุติ)ลูกจ้างบริษัทเอกชนธุรกิจด้านมือถือเปิดเผยว่าหากนายจ้าง นำเรื่องดังกล่าวมาเป็นข้อกำหนดในการปฏบัติงานรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมต่อ ลูกจ้างบางครั้งอาจจำเป็นต้องติดต่องานหรือส่งข่าวสารผ่านทางโซเซียลมีเดีย ซึ่งหากลูกจ้างใช้คอมพิวเตอร์ของบริษัทในการติดต่อสื่อสารนอกเหนือจากการทำ งานยังพอรับไหว แต่หากห้ามเล่นโทรศัพท์ส่วนตัวแล้วเป็นเหตุให้ถูกไล่ออกน่าจะมีการผ่อนปรน และมีทางออกที่เป็นธรรมมากขึ้น
ขณะ ที่พนักงานฝ่ายประชาสัมพันธ์ขององค์กรแห่งหนึ่งในอ.เมือง จ.สงขลา
ได้แสดงความคิดเห็นว่าตนว่ารุนแรงมากเกินไปที่นายจ้างสามารถพิจารณา ไล่ลูกจ้างออกจากงานได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและลูกจ้างจะเรียก ค่าสินไหมทดแทนไม่ได้แต่ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของทั้ง2ฝ่ายมากกว่าโดยในส่วน ของพนักงานหรือลูกจ้างควรใช้โซเชียลฯในการทำงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบส่วน เรื่องส่วนตัวควรลดลงให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ด้านนายจ้างเองก็ควรเปิดกว้างเนื่องจากการทำงานส่วนหนึ่งในยุคนี้จำเป็นต้อง ใช้โซเลชียลมีเดีย แต่หากพบการกระทำผิดดังกล่าวก็ควรเรียกมาตักเตือนกันก่อน เป็นอันดับเเรกแต่หากมากกว่าไปกว่านี้ก็มีทั้งการการปรับตัดหรือลดเงินเดือน หรือจะไล่ออกก็แล้วแต่กรณีไป เพื่อให้ยุติธรรมกัน
ด้าน นายทวนชัย (ขอสงวนนามสกุล)ชาว อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรีกล่าวว่า ตนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งหากมีการบังคับใช้โทรศัพท์หรือ คอมพิวเตอร์ในเวลาทำงานซึ่งหลายๆครั้งที่พบเจอมาพนักงานมักเล่นโทรศัพท์ขณะ ให้บริการแก่ลูกค้าทำให้ขาดสมาธิ จนเกิดความผิดพลาดตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงใหญ่โตทีเดียว.