ชุมพรได้กระทิงป่าสายพันธุ์ใหม่ครั้งแรกในไทย 11 ตัว

ชุมพรได้กระทิงป่าสายพันธุ์ใหม่ครั้งแรกในไทย 11 ตัว


เมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 21 มกราคม 2558 ที่วิทยาลัยเกษตรกรรมชุมพร อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร
 
นายวชิระ พันดุสะ นายอำเภอทุ่งตะโก ได้เชิญนายฐากร ล้อมศตพร ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 4 (สุราษฏร์ธานี) นายวิโรจน์ นาคแท้ ผอ.ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช สพญ.กนกวรรณ ตรุยานนท์ ผศ.เทียมพบ ก้านเหลือง นักวิชาการ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร (สจล.) วิทยาเขตชุมพรเขตต์อุดมศักดิ์ เข้าร่วมประชุม เพื่อดำเนินการกรณีกระทิงป่ายักษ์หลงลงมาจากผืนป่าภูเขาสูง เมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา จนเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วประเทศครั้งหนึ่ง

นายวชิระ เปิดเผยว่า กรณีกระทิงป่ายักษ์ น้ำหนักกว่า 1 ตัน
 
พลัดหลงฝูงกระทิงจากเขาสูง ลงมาอยู่ในสวนปาล์มของชาวบ้านบริเวณหลังวิทยาลัยเกษตรกรรมชุมพร ซึ่งเป็นพื้นที่ หมู่ที่ 8 ต.ตะโก อ.ทุ่งตะโก จนสร้างความหวาดกลัว เนื่องจากกระทิงป่ายักษ์ มีนิสัยดุร้าย จนหน่วยงานจากกรมอนุรักษ์สัตว์ป่าต้องลงมาดำเนินการ และขับไล่ให้กลับเข้าไปในผืนป่า จนกระทิงป่ายักษ์ยอมกลับเข้าไปในป่าดงดิบ

แต่หลังจากนั้นไม่นาน กระทิงป่าตัวดังกล่าวกลับลงมาอยู่ในพื้นที่เดิมอีก

จนหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามตลอด 2 ปีที่ผ่านมา เพื่อไม่ให้ทำร้ายคน และไม่ให้ชาวบ้านทำร้ายกระทิง รวมทั้งพยายามผลักดันให้กระทิงป่ากลับขึ้นไปในป่าดงดิบ แต่ปรากฏว่า กระทิงตัวดังกล่าวได้เข้าไปผสมพันธุ์กับวัวของชาวบ้านนับสิบตัว เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี วัวของชาวบ้านได้คลอดลูกที่ผสมกับกระทิงป่าแล้วจำนวน 11 ตัว ซึ่งกระทิงป่าตัวดังกล่าวก็ไม่ยอมกลับขึ้นป่า แต่ยังคงวนเวียนดูแลลูกและเมียของมันทั้ง 22 ตัว (แม่วัว 11 ตัว ลูกวัว 11 ตัว) คล้ายกับจะสร้างฝูงใหม่ขึ้นมา

นายวชิระ กล่าวต่อไปว่า แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ลูกวัวทั้ง 11 ตัว กลายเป็นวัวสายพันุ์ใหม่ ที่เกิดจากการผสมกันระหว่างกระทิงป่าและวัวพื้นเมือง ซึ่งยังไม่เคยมีในเมืองไทย ถึงแม้จะมีการพยายามผสมกันในหลายสถานที่ที่มีการจับกระทิงป่าได้ และนำมาผสมพันธุ์กันแต่ไม่เคยสำเร็จ

ขณะที่ที่ชุมพรกลับมีกระทิงป่าลงมาผสมกับวัวพื้นเมืองตามธรรมชาติ จนมีลูกออกมาแล้ว 11 ตัว ถือเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมาก นอกจากนั้น กระทิงป่าตัวดังกล่าวก็คลายความดุร้าย และยังคงอาศัยอยู่ในสวนปาล์ม ทำให้ชาวบ้านและนักวิชาการจาก สจล.อยากให้อยู่ในพื้นที่ต่อไป แต่เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ บอกว่า สัตว์ป่าต้องกลับไปอยู่ในป่า ซึ่งจำเป็นต้องมีการพูดคุยกันต่อไป

สพญ.กนกวรรณ ตรุยานนท์ กล่าวว่า ลูกของกระทิงป่าและวัวพื้นบ้านถือเป็นวัวสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่มีชื่อเรียก

แต่เป็นสายพันธุ์ที่มีความแข็งแรงปราดเปรียว มีสีสันที่แปลกไปจากวัวทั่วๆ ไปร่างกายใหญ่โต และยังสามารถพัฒนาสายพันุ์วัวพื้นบ้านของไทยให้ดีขึ้นได้ในอนาคต ถือว่าเป็นความสำเร็จครั้งแรกของเมืองไทย ซึ่งในทางวิชาการจะนำเลือดของลูกวัวไปตรวจดีเอ็นเอ เพื่อหารายละเอียดต่อไป

ชุมพรได้กระทิงป่าสายพันธุ์ใหม่ครั้งแรกในไทย 11 ตัว


ชุมพรได้กระทิงป่าสายพันธุ์ใหม่ครั้งแรกในไทย 11 ตัว


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์