มูลนิธิกระจกเงาเผย “คุณยายขายผัดไทราชวัตร” ป่วยจิตเวช

มูลนิธิกระจกเงาเผย “คุณยายขายผัดไทราชวัตร” ป่วยจิตเวช


มูลนิธิกระจกเงาเผยมีข้อมูลหลายอย่างบ่งชี้ “คุณยายขายผัดไทราชวัตร” มีอาการป่วยทางจิตเวช  ไม่ใช่อาการหลงลืมหรือมีภาวะสมองเสื่อม แนะนำพบแพทย์จิตเวชได้ทำการประเมินและหาแนวทางรักษาตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต 2551

โครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา รายงานว่า หลังจากมีข่าวทางโซเชียลฯ มีการพูดถึงกันมากเรื่อง "คุณยายขายผัดไทราชวัตร  (ยายหรั่ง) ขายผัดไทไม่ไหวแล้ว" หลังได้รับการแจ้งผ่านเพจโครงการผู้ป่วยข้างถนน ทางทีมโครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา พบขัอมูลหลายอย่างที่บ่งชี้ในเบื้องต้นว่าคุณยายมีอาการป่วยทางจิตเวช ไม่ใช่อาการหลงลืมหรือมีภาวะสมองเสื่อมเพียงอย่างเดียว ข้อบ่งชี้ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

1.ในระหว่างการพูดคุยกับคุณยาย คุณยายมีอาการเห็นภาพหลอน เห็นคนและมีปฎิกิริยาตอบโต้กับภาพหลอนนั้น เช่น การไล่ การบอกให้คนอื่น ๆ ช่วยไล่ หรือ การคิดไปเองว่ามีคนปีนบ้านที่แกพักอาศัยอยู่  ซึ่งคนหรือเพื่อนบ้านในละแวกใกล้เคียงให้ข้อมูลตรงกันกับพฤติกรรมดังกล่าวของคุณยายและยืนยันว่าไม่มีใครกระทำการดังกล่าว

2.ในส่วนข้อมูลในโพสต์กระทู้ pantip ที่ระบุว่าคุณยายถูกทำร้ายร่างกาย แต่เมื่อสอบถามกับทางชาวบ้านและเพื่อนบ้านยืนยันตรงกันว่า "ไม่มีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น" ซึ่งทางทีมประเมินได้ว่าคุณยายได้จินตนาการเรื่องดังกล่าวขึ้นเองเนื่องด้วยอาการป่วยทางจิตเวชของทางคุณยายเอง

3.ในส่วนข้อมูลในโพสต์กระทู้ pantip ที่ระบุว่าคุณยายมีการนั่งหลับอยู่ในบางครั้งที่ออกมาขายผัดไท ในกรณีนี้ได้สอบถามข้อมูลกับทางชาวบ้านและเพื่อนบ้านได้ความว่า ในช่วงกลางคืนคุณยายจะไม่ได้นอนเพราะมีพฤติกรรมพูดบ่นอยู่ตลอดทั้งคืน และจะมานอนในช่วงเช้า ซึ่งเป็นพฤติกรรมของอาการจิตเวชเช่นกัน

4.มีการพูดคนเดียวบ่นคนเดียวตลอดเวลาและพูดจาวกวนตลอดทุกครั้ง 

5.ภายในบ้านและส่วนของหน้าบ้านของคุณยายเองไม่ได้รับการทำความสะอาด ยิ่งบริเวณส่วนของหน้าบ้านมีขยะกองสุมกันมากพอควรมีหนู มีแมลงสาบ และได้กลิ่นฉี่หนูอย่างรุนแรงซึ่งเป็นพฤติกรรมหนึ่งของคนที่เป็นผู้ป่วยจิตเวชที่ขาดการจัดการหรือดูแลความสะอาดของตัวเองและที่อยู่

ดังนั้น การให้ความช่วยเหลือหรือทางแก้ไขปัญหาควรเริ่มต้นจาก สาเหตุอาการป่วยทางจิตของคุณยายเพื่อป้องกันเหตุอื่นๆ ที่จะเกิดตามมาจากอาการป่วยที่เพิ่มระดับมากขึ้น เช่น การพลัดหลง การอยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมตลอดเวลา การที่อาการป่วยทางจิตจะพัฒนาเป็นอาการป่วยทางจิตที่เรื้อรังส่งผลให้การดำรงชีวิตเป็นไปอย่างยากลำบาก

แนวทางการช่วยเหลือที่เหมาะสม ได้แก่ 1.ควรนำส่งคุณยายให้แพทย์จิตเวชได้ทำการประเมินและหาแนวทางรักษาตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต 2551  2.ควรมีการตรวจเช็คร่างกายร่วมด้วย เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่บ้านน่าจะมีการส่งผลต่อสุขภาพไม่มากก็น้อย  3.จัดเตรียมกระบวนการรองรับในหลักของการดูแลคุณภาพชีวิตหลังจากคุณยายสิ้นสุดการรักษาหรืออยู่ในขั้นตอนของการรักษา โดยหน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่นที่มีภารกิจในการดูด้านสาธารณสุขและด้านสังคมต้องขยับเข้ามาทำงานเชิงรุกเพื่อการสนับสนุนดูแลอย่างต่อเนื่องทั้งในเรื่องของการทานยาจิตเวชอย่างต่อเนื่อง  การจัดสภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวและชุมอย่างเหมาะสม
 


เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์