7 ก.ย.57 ที่ จ.นครราชสีมา เมื่อเวลา 08.00 น.นายไพศาล พันพึ่ง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดนครราชสีมา
เปิดเผยถึงสถานการณ์ฝนตกหนักติดต่อกันเมื่อ 3 วันที่ผ่านมา น้ำฝนกว่า 100 มิลฯ ทำให้ อ.เมืองฯ หลายชุมชนในเขตเทศบาลนครฯ และถนนสายหลบักถูกน้ำท่วมขัง และเมื่อช่วงเย็นเมื่อวานนี้ (6 ก.ย.) ฝนตกหนัก เกิดสภาพน้ำท่วมขังเจิ่งนอง ว่า ช่วงนี้มีร่องความกดอากาศมาพาดพาดในช่วงนี้ส่งอิทธิพลให้กับภาคอีสานตอนล่างโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จ.นครราชสีมา เป็นจุดที่สภาพฝนพาดพาดชัดเจน และช่วงที่เกิดขึ้นมานี้จะมีฝนตกประมาณ 70 - 80% ของพื้นที่ โดยในส่วนของพื้นที่รอบนอกของตัวเขตชุมชน ส่วนใหญ่จะเป็นประโยชน์กับชาวไร่ชาวนาพี่น้องเกษตรกร ไร่นาต่างๆ ที่เดิมขาดแคลนน้ำเรื่องของน้ำเพื่อการปลูกข้าวนาปี จะได้น้ำจากฝนรอบช่วงนี้ไปช่วยชดเชยให้ข้าวรอดได้
แต่ประเด็นขณะนี้เราเรากำลังเจอปัญหาในส่วนของฝนที่ตกในเขตชุมชนเขตตัวเมือง
โดยเฉพาะเขตตัวเมืองเทศบาลนครนครราชสีมา มีหลายจุดที่พบปัญหาน้ำฝนท่วมขังระบายไม่ทัน ประเด็นนี้ต้องเรียนว่า ไม่ใช่น้ำหลากหลายจากน้ำทางด้านเหนือในเขต อ.สีคิ้ว และ อ.สูงเนิน ไหลลงลำน้ำลำตะคองมานั้นไม่ใช่เลย แต่น้ำที่เกิดท่วมขังในเขตเมืองเป็นน้ำที่เกิดฝนตกในเขต อ.เมือง อย่างเดียว แล้วผลกระทบคือน้ำฝนที่ตกมากแล้วไม่มีที่ให้น้ำไป
นายไพศาล กล่าวว่า ตอนนี้สิ่งที่ต้องฝากในเขตเมืองคือเรื่องการพัฒนาเมือง โดยเฉพาะการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำนวนมากมายรอบตัวเมือง
ชุมชนตรอกซอกซอยต่างๆที่ลุ่มต่ำต่างๆมีการถมดินเปลี่ยนที่อสังหาริมทรัพย์ บ้านจัดสรร เทาว์เฮาว์ คอนโด หอพักมากมาย แต่เราลืมให้ความสำคัญกับร่องน้ำธรรมชาติที่เคยมีอยู่ดั่งเดิม ลืมหนองบึงอยู่เดิมว่าเคยเป็นตัวช่วยเรื่องเป็นที่รับน้ำช่วงฝนตก หรือการวางท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ วันนี้ฝนตกลงมาแล้วไม่มีที่ให้น้ำอยู่และไม่มีที่ให้น้ำไป สิ่งตามน้ำท่วมขังอย่างเดียว
ขณะนี้ทุกภาคส่วนก็พยายามช่วยกันทุกหน่วยเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันไปก่อน
และมีการเตรียมการเคลียร์ในส่วนที่จะเป็นล่องรับน้ำต่อไปในอนาคตถ้าหากฝนตกหนักอีกเพื่อน้ำจะได้มีที่ให้ไป ส่วนระดับในเขื่อนใหญ่ 5 เขื่อนหลักต่างๆ ขณะนี้ได้รับอิทธิพลฝนเช่นกัน แต่สภาพของน้ำที่ตกเหนือเขื่อนยังไม่มากเท่า ถ้าเกิดน้ำที่ตกเหนือเขื่อน เช่น เขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว น้ำในพื้นที่ อ.ปากช่อง ก็จะไหลงมาเติมลำตะคอง แต่ภาวะของน้ำยังไม่มากพอ แต่ส่วนเกิดผลกระทบในตัวเมืองเป็นฝนที่ตกท้ายเขื่อน เพราะไม่มีที่เก็บ
ทั้งนี้ลำตะคอง อ.สีคิ้ว , ลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย , ล้ำมูลน - ลำแชะ อ.ครบุรี และลำปลายมาศ อ.เสิงสาง อ่างเก็บน้ำทั้ง 5 แห่ง
เฉลี่ยแล้วมีความจุอยู่ที่ประมาณกว่า 40% รองรับน้ำได้อีกกว่า 60% เต็ม ในช่วงปลายเดือนนี้ และ ต.ค.รับน้ำได้ถ้าตกเหนือเขื่อน แต่จะมีปัญหาถ้าตกท้ายเขื่อน ส่วนอ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ.ปักธงชัยฯ ตอนนี้น้ำยังไม่แห้ง เพียงแต่เหลือน้อยประมาณ 8 ล้าน ลบ.ม.หรือกว่า 30% ยังไม่ถึงกับวิกฤติ เพราะสภาพพื้นที่ของลำพระเพลิงรองรับลักษณะนี้อยู่แล้ว และฝนเวลาเข้าจะเต็มความจุเร็ว ตรงนี้ไม่น่าเป็นห่วงสำหรับลำพระเพลิง เพียงแต่ว่ากระบวนการของฝนที่ตกท้ายเขื่อนน่าเป็นห่วง ซึ่งเราต้องช่วยกันดูแล
ส่วนโอกาสน้ำท่วมใหญ่อย่างปี 2553 ไม่ใช่แล้ว เพราะช่วงนั้นตกหนักทั้งเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน และเขื่อนรองรับไม่ได้จนล้นทะลักออกมา
แต่ปีนี้กว่า 60% ที่เขื่อนจะรับได้ ดังนั้นตนเชื่อมั่นว่าถ้าตกเหนือเขื่อนเรารับได้ โดยเฉพาะลำตะคองเสริมความจุเพิ่มทำให้เพิ่มน้ำได้มากขึ้นกว่า 60 ล้าน ลบ.ม.ซึ่งปีในฝนมาไม่เร็ว แต่มาล่ามากกว่า ปรกติต้องเข้ามาตั้งแต่เดือนสิงหาคมแล้ว แต่ตอนนี้กันยายนแล้ว