เมื่อวันที่ 4 ส.ค. นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา เปิดเผยถึงกรณีที่สาวไทยรับจ้างอุ้มบุญแทนคู่สมี-ภรรยา ชาวออสเตรเลีย
แต่เมื่อเด็กเกิดมาพิการ กลับทิ้งไว้ให้สาวที่รับอุ้มบุญผู้ว่าดูแล จนเกิดกระแสวิพากย์วิจารณ์ในวงกว้าง ว่า เบื้องต้นยังไม่ทราบว่าสถานพยาบาลหรือแพทย์ใดที่ให้บริการอุ้มบุญ แต่การรับจ้างอุ้มบุญถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายในประเทศไทย ในขณะนี้แพทยสภาจึงกำลังดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้อย่างละเอียด โดยจะมีการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) และกรมการกงสุลกรณีที่เกี่ยวข้องกับการอุ้มบุญ และจะตรวจสอบว่า มีสถานพยาบาลหรือแพทย์รายใดอีกบ้างที่ให้บริการอุ้มบุญ ที่นอกเหนือจาก 45 ราย ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
นพ.สัมพันธ์ กล่าวต่อว่า ในวัยที่ 14 ส.ค. นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการแพทยสภา
โดยจะมีการเสนอวาระเกี่ยวกับการควบคุมการใช้เทคโนโลยีการช่วยการเจริญพันธุ์ ในการหารือด้วย โดยเบื้องต้นจะเสนอให้มีการเชิญสูตินรีแพทย์จำนวน 45 คน ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับราชวิทยาลัยสูติฯ ที่สามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้ มาสอบถามปัญหาที่เกิดขึ้น โดยจะมีการนัดหมายวันเวลาอีกครั้ง ซึ่งหากพบแพทย์หรือสถานพยาบาลที่มีการกระทำผิด ก็จะถูกลงโทษทางวินัย โดยมีตั้งแต่ภาคทัณฑ์ เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งต้องอยู่ที่การพิจารณาในแต่ละกรณี
ด้านทพ.อาคม ประดิษฐ์สุวรรณ ผอ.สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลป์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) กล่าวว่า
ขณะนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ติดตามดูข้อมูลการกระทำดังกล่าวแล้ว แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ สถานพยาบาลว่าเปิดให้บริการถูกต้องหรือไม่ และแพทย์ผู้ดำเนินการได้รับอนุญาตจากราชวิทยาลัยสูติฯ หรือไม่ หากไม่ได้ขึ้นทะเบียนถือว่ามีความผิด ต้องถูกจำคุก 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ในข้อหาให้บริการผิดประเภท รวมถึงจะส่งให้แพทยสภาพิจารณาโทษทางจริยธรรมด้วย โดยมีโทษหนักสุดคือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ อีกทั้งสบส. กำลังเร่งตรวจสอบข้อมูลทั้งในอินเทอร์เน็ต และสถานพยาบาลอีก 12 แห่ง ที่พบว่ามีเปิดอย่างถูกกฎหมาย 7 แห่ง อีก 5 แห่ง เปิดสถานพยาบาลอย่างผิดกฎหมาย ส่วนแพทย์ที่ดำเนินการยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่า ได้รับอนุญาตจากราชวิทยาลัยสูติฯหรือไม่ หากหากพบว่าฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตามกฎหมายต่อไป
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงความคืบหน้าการช่วยเหลือน้องแกรมมี่ เด็กอุ้มบุญ ที่จ.ชลบุรี ว่า
ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด(สสจ.) เข้าไปประสานงานกับรพ.เอกชนที่ดูแลเด็กอยู่อย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผนการดูแลรักษา ค่าใช้จ่าย และการส่งต่อไปรักษาที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ซึ่งมีความพร้อมในการดูแลรักษา ขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านร่างกายของเด็ก และความต้องการของมารดา
ว่าดำเนินการตามพ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 หรือไม่ ซึ่งคลินิกที่ทำอุ้มบุญนี้จะต้องขึ้นทะเบียนกับราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ และผู้ประกอบวิชาชีพต้องเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมอบหมายให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ดำเนินการตรวจสอบและประสานแพทยสภาดูแลเรื่องรายละเอียดเรื่องนี้ เนื่องจากการผสมเทียมหรือทำเด็กหลอดแก้ว จะต้องดำเนินการตามประกาศแพทยสภาที่ 1/ 2540 ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีแพทย์ที่ ผ่านการอบรม และสถานพยาบาลต้องได้รับการขึ้นทะเบียน ได้รับการรับรองจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และผู้รับบริการต้องมีปัญหาการมีบุตรยาก และประเด็นสำคัญผู้ที่รับการตั้งครรภ์แทนจะต้องเป็นญาติโดยสายเลือดคือพี่ หรือน้อง จึงไม่สามารถจ้างผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือดมารับตั้งครรภ์แทนได้ ตามกฎหมาย