เจ้าของที่ดินเขาชัยสนคืนทองคำแผ่นให้′กรมศิลป์′เร่งศึกษาที่มา

เจ้าของที่ดินเขาชัยสนคืนทองคำแผ่นให้′กรมศิลป์′เร่งศึกษาที่มา

เวลา 09.30 น.วันที่ 2 มิถุนายน ที่ว่าการอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงนายอนันต์ ชูโชติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) รักษาการรองอธิบดีกรมศิลปากร
 
พร้อมด้วยนายวินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง นายธาราพงษ์ ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี
 
นายอาณัติ บำรุงวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช ร่วมประชุมกับกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อำเภอเขาชัยสน กว่า 100  คน เพื่อชี้แจงกรณีการขุดพบทองคำโบราณในพื้นที่อำเภอเขาชัยสนและให้กำนันผู้ใหญ่เป็นตัวกลางทำความเข้าใจและไม่ให้ชาวบ้านขุดทองคำในพื้นที่ดังกล่าวอีก ที่สำคัญให้ผู้ใหญ่บ้านไปขอให้ผู้ที่ครอบครองนำทองคำนำมาส่งคืนให้กับกรมศิลปากร เพื่อนำไปศึกษา รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ถึงที่มาของทองคำดังกล่าว  

หลังจากการชี้แจงแล้วเสร็จ คณะผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง และคณะกรมศิลปากร ได้เดินทางไปยังบ้านของนายวิ ทับแสง เจ้าของที่ดินที่ขุดพบทองคำโบราณ โดยใช้เวลาพูดคุยนานกว่า 30 นาที ในที่สุดนายวิ ก็ยอมมอบแผ่นทองคำโบราณน้ำหนักประมาณ 2 บาทในสภาพสมบูรณ์แบบคืนให้กรมศิลปากรนำไปศึกษาและประเมินค่า

นายอนันต์ กล่าวว่า หลังจากได้รับมอบทองแล้ว ก็จะมอบหมายให้สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช
 
จัดทำรายละเอียดเพื่อนำเสนอต่อนายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร สั่งการให้นักโบราณคดีและนักวิทยาศาสตร์นำไปตรวจสอบข้อมูลและรายละเอียดของแผ่นทอง คาดว่า ภายใน 7 วันน่าจะมีคำตอบและได้รับความชัดเจนมากยิ่งขึ้น  
ส่วนที่จะตรงตามคำสันนิษฐานว่าเป็นทองคำที่นำไปหุ้มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช หรือไม่นั้น คงต้องมีการเก็บข้อมูลหลายๆ ด้านก่อน  รวมทั้งยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นทองในยุคสมัยใด  ท

อยากขอร้องให้ประชาชนที่นำทองไปให้รีบนำทองกลับมาคืน
 
เบื้องต้น กำหนดระยะเวลาไว้ภายใน 15 วัน ประชาชนที่ครอบครองทองคำต้องนำทองมาส่งมอบคืน หลังจากส่งมอบคืนแล้ว กรมศิลปากรจะประเมินค่าราคาทอง และจ่ายค่าตอบแทน 1 ใน 3 ของมูลค่าแต่ละชิ้น

“แต่หากเกิน 15 วันไปแล้วจะประสานไปยังจังหวัดและเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ เพื่อให้มีการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งตามอำนาจหน้าที่ของ พ.ร.บ.โบราณสถานโบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 7 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หากนำมาคืนและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับกรมศิลปากรถือว่าไม่มีความผิด ที่สำคัญยังเป็นการส่งคืนข้อมูลทางประวัติศาสตร์เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ ทั้งนี้ชาวบ้านสามารถส่งคืนผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัด หรือสำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช ส่วนการขุดค้นในพื้นที่นั้น ขณะนี้กรมศิลปากรได้จัดทำผังการขุดค้นในเบื้องต้นแล้ว หลังจากนี้จะสูบน้ำออกจากพื้นที่เพื่อเปิดหน้าดินและขุดค้นตามหลักวิชาการเบื้องต้นคาดว่าจะเป็นเวลาดำเนินการประมาณ 2-3 เดือน เพื่อเก็บข้อมูล ส่วนขนาดความลึกของการขุดค้นประมาณ 3-5 เมตร โดยการขุดค้นจะเป็นการขุดตามหลักวิชาการ ซึ่งคาดการณ์ว่าอาจจะพบโบราณวัตถุเพิ่มเติมอีกก็เป็นได้”

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์