นักวิจัยไทยและต่างชาติร่วมศึกษาแหล่งม้าน้ำของไทยที่จังหวัดกระบี่ พบว่าเริ่มลดจำนวนลงเรื่อยๆ เพราะราคาสูงขึ้น หวังนำผลวิจัยไปสู่การอนุรักษ์ในถิ่นนั้นๆ
ไทยจับม้าน้ำส่งออกมาก ส่งผลลดจำนวนลง
นักวิจัยจากโปรเจ็กต์ซีฮอส (seahorse.org) มหาวิทยาลัยปริสติสโคลัมเบีย และนักวิจัยชาวไทย ร่วมกันสอบถามข้อมูลการพบเจอม้าน้ำจากชาวประมง ในพื้นที่บ้านเกาะปู จังหวัดกระบี่ หลังจากมหาวิทยาลัยร่วมกับกรมประมง ได้จัดทำโปรเจ็กต์ดังกล่าวขึ้นมา นักวิจัยจากโปรเจ็กต์ซีฮอส (seahorse.org) มหาวิทยาลัยปริสติสโคลัมเบีย และนักวิจัยชาวไทย ร่วมกันสอบถามข้อมูลการพบเจอม้าน้ำจากชาวประมง ในพื้นที่บ้านเกาะปู ตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ หลังจากมหาวิทยาลัยร่วมกับกรมประมง ได้จัดทำโปรเจ็กต์ดังกล่าวขึ้นมา
นางสาววรรณสิริ รงรวงเมือง นักวิจัยชาวไทยที่ร่วมสำรวจ บอกว่า สาเหตุที่มีโครงการนี้ขึ้นมาเนื่องจากทางกรมประมง โดยรัฐบาลไทย และมหาวิทยาลัย มีความเป็นห่วงว่าจำนวนประชากรของม้าน้ำจะลดลง เนื่องจากมีการสำรวจพบว่าไทย เป็นประเทศที่มีการส่งออกม้าน้ำไปขายทั่วโลกและเป็นรายใหญ่ที่สุดส่วนใหญ่จะส่งออกไปจีน ขณะที่จำนวนม้าน้ำที่ผ่านมาไม่เคยมีการสำรวจแบบจริงจัง ประกอบกับปัจจุบันการพบเจอม้าน้ำค่อนข้างยาก
ดังนั้น หากได้สอบถามจากชาวประมงที่เคยจับม้าน้ำได้จะทำให้ทราบว่าจุดใดมีม้าน้ำ และจากนั้นจะดำน้ำสำรวจ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ม้าน้ำเริ่มลดจำนวนลงและหายาก เพราะมีแรงจูงใจในเรื่องของราคาม้าน้ำที่สูงขึ้น หากนำไปขายนอกประเทศจะมีราคากิโลกรัมละกว่า 10,000 บาท ขณะที่ในพื้นที่ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ตัวละ 50-1,000 บาท ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแรงกระตุ้นให้การล่าม้าน้ำเพื่อจำหน่ายมีสูงขึ้น แม้ว่าการล่านั้นจะไม่พุ่งตรงกับตัวม้าน้ำ แต่หากชาวประมงจับได้ จากที่เคยปล่อยกลับทะเลก็จะจับมาขาย
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!