ตะลึง กทม.เจอปรากฏการณ์ “โดมความร้อน ขั้นรุนแรงจู่โจม

ภาพจาก Isnhotnewsภาพจาก Isnhotnews



เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ที่ จ.แพร่ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เป็นประธานเปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำ จ.แพร่ และมอบอุปกรณ์ติดตามสถานการณ์น้ำอัตโนมัติ โดยมีนายรอยล จิตรดอน ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) (สสนก.) บรรยายสถานการณ์ ว่า สสนก.ได้พัฒนาระบบคลังข้อมูลน้ำ และภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ และสภาพอากาศ ทั้งข้อมูลพื้นที่ สถิติ สถานการณ์น้ำปัจจุบัน การคาดการณ์ รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันให้เป็นระบบข้อมูลกลาง เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ ทั้งในภาวะปกติ และภาวะวิกฤต


นอกจากนี้ยังได้พัฒนา ศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดเพื่อให้หน่วยงานท้องถิ่นมีข้อมูลสำหรับติดตามสถานการณ์น้ำ เพื่อแจ้งเตือนภัยน้ำท่วม ทั้งยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากท้องถิ่น เข้าสู่คลังข้อมูลน้ำ และภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อให้ทุกหน่วยงานเตรียมพร้อมสำหรับปฏิบัติงานทุกสถานการณ์ โดยขณะนี้ สสนก.ได้ทำข้อมูลระดับจังหวัดแล้ว 51 จังหวัด และจะทำให้ครบทั้ง 76 จังหวัดภายในปี 2557 ที่สำคัญ สสนก.ยังสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำระดับจังหวัด นำร่องที่ จ.แพร่ และสุโขทัย เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาเรื่องน้ำมาตลอด
 
นายรอยลกล่าวว่า สำหรับสถานการณ์น้ำในปี 2556 ยังคงมีปริมาณฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม จะมีปริมาณฝนสูงกว่าเกณฑ์ปกติ โดยฤดูฝนปีนี้จะมาเร็วโดยอิทธิพลของฝนจะเกิดจากอิทธิพลท้องถิ่น คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ กำลังแรง ลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางค่อนข้างแรง ทำให้ปริมาณฝนมีมาก
 
ซึ่งเวลานี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเวลานี้เริ่มทำนาหว่านกันแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน จะเกิดฝนที่ภาคกลาง ช่วงเวลาประมาณ 19.00 น. ต่อเนื่องไปถึงวันที่ 11-13 มิถุนายน โดยจะรุนแรงที่ จ.สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และตราด ที่สำคัญในช่วงวันที่ 12-13 มิถุนายน จะเกิดฝนตกหนักพาดผ่านเป็นแนวยาว ตั้งแต่ภาคเหนือจนถึงภาคตะวันออก โดยเฉพาะที่ จ.ตราด ผ่าน จ.ลพบุรี จันทบุรี ไปจนถึง จ.ตราด ซึ่งฝนที่ตกพาดผ่านแนวเฉียงลักษณะดังกล่าว จะส่งผลดีต่อปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล ที่ จ.ตาก แต่จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลาดเชิงเขาที่จะมีน้ำไหลหลาก อาจจะทำให้ดินถล่ม ดังนั้นต้องเฝ้าระวังในจุดนี้ด้วย
 
"ฝนที่ตกในช่วง 11-13 มิถุนายน เป็นฝนธรรมดา แต่มีความรุนแรงมากกว่าปกติ ส่วนพายุ ขณะนี้เริ่มก่อตัวแล้ว ถ้าดูจากประเทศสหรัฐอเมริกา ปีนี้ที่กำลังเจอกับพายุเฮอริเคน ถือว่าหนักกว่าปี 2554 โดยในปีดังกล่าวอเมริกาเจอพายุเฮอริเคนมากที่สุดในรอบ 50 ปี แต่ปี 2556 สหรัฐอเมริกาจะเจอพายุเฮอริเคนหนักกว่าปี 2554 อีก ไม่ต้องพูดถึงภาวะน้ำท่วมที่หนักที่สุดในรอบ 10 ปี เพราะฉะนั้น ประเทศไทยเจออุทกภัยปี 2554 จากพายุประมาณ 5 ลูก ในปี 2556 จึงไม่ควรประมาท เพราะว่าธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลงรุนแรงมาก ขณะนี้มีจังหวัดของประเทศไทยที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมถึง 40 จังหวัด เช่น นครสวรรค์ สุโขทัย พิจิตร เป็นต้น" นายรอยล กล่าว
 
นายรอยล กล่าวว่า ความผันแปรของธรรมชาติปีนี้ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่กำลังเจอภาวะ ฮีต ไอ แลนด์ (Heat I land) หรือปรากฏการณ์โดมความร้อน ภาวะดังกล่าวเกิดจากลมตะวันตกเฉียงใต้พัดเอาความร้อนจากเขตเมือง ย่านราชเทวี สีลม สุขุมวิท ไปปะทะความชื้นฝั่งดอนเมือง ทำให้อุณหภูมิของดอนเมืองสูงขึ้นทันทีประมาณ 4-5 องศาเซลเซียส จาก 37 องศาเซลเซียส เป็น 42 องศาเซลเซียส ในวันที่ 3 มิถุนายน ส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก และทำให้เครื่องบินลงไม่ได้หลายเที่ยวบิน ภาวะดังกล่าวนี้จะเกิดถี่มากขึ้นใน กทม.เนื่องจากภาวะโดมความร้อนที่สะสมมาตั้งแต่ปี 2554
 
ทั้งนี้ ภาวะโดมความร้อนมักจะเกิดในเมืองใหญ่ โดยที่ใน กทม.เวลานี้ มีการก่อสร้างอาคารชุดขนาดใหญ่ รวมทั้งคอนโดมิเนียมตั้งแต่ รัชดา ลีลม สุขุมวิท แต่ละแห่งมีหลายร้อยห้อง ทุกห้องมีเครื่องปรับอากาศทั้งหมด รวมแล้วหลายหมื่นเครื่อง โดยเครื่องปรับอากาศเหล่านี้ จะปล่อยความร้อนออกมานอกอาคารทั้งกลางวันและกลางคืน เมื่อรวมกับเครื่องปรับอากาศจากศูนย์การค้าขนาดใหญ่
 
ทำให้ปริมาณความร้อนพุ่งขึ้นสูง ต่างกับเขตทวีวัฒนา และพื้นที่ฝั่งธนบุรี ที่มีอากาศเย็นลง เนื่องจากมีการก่อสร้างคอนโดมิเนียมหรือห้องชุดน้อย วิธีการแก้ไขทำได้คือ การปลูกต้นไม้ในเมืองให้มากเพื่อรักษาสมดุลของธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพื้นที่บริเวณสนามบินสุวรรณภูมินั้นจะไม่ได้รับผลกระทบเหมือนพื้นที่ดอนเมือง เพราะสุวรรณภูมิได้รับผลกระทบจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดจากอ่าวไทยเท่านั้น แต่ดอนเมืองรับลมจากทุกทิศ

ด้านนายวรวัจน์กล่าวว่า จ.แพร่ เป็นพื้นที่ที่ทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้งซ้ำซาก การบริหารจัดการน้ำเป็นระบบจึงเป็นเรื่องสำคัญ ด้วยข้อมูลที่มีและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่จะร่วมกันแก้ปัญหา ทั้งนี้ เวลานี้ทั่วประเทศมีข้อมูลพื้นฐาน เช่น เรื่องแผนที่จังหวัดอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์สูงสุดสำหรับบริหารจัดการน้ำด้วยตัวเอง ซึ่งศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัดที่ จ.แพร่นี้จะเป็นต้นแบบสำหรับให้พื้นที่จัดการน้ำด้วยตนเอง แทนที่จะให้ส่วนกลางเป็นผู้จัดการให้เหมือนที่ผ่านมา 

ขอบคุณ : Isnhotnews

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์