ส่วนที่มีคำถามเกิดขึ้นมาว่า ทำไมจึงต้องมาการทำทดสอบในช่วงนี้ ก็มาจากพื้นที่ของกทม.คือพื้นที่ปลายน้ำ ที่จะต้องทำหน้าที่ระบายน้ำก่อนลงสู่ทะเล
โดยโครงการเตรียมความพร้อมในการแผนการป้องกันน้ำท่วมที่รัฐบาลได้วางเอาไว้ ได้กำหนดใหเทุกอย่างแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคมนี้ ดังนั้นการทดสอบจึงจะต้องมาทดสอบในเดือนกันยายน ส่วนวิธีการและแผนการทดสอบในครั้งนี้ ได้มีการหารือพูดกันของทุกงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น กทม. , สำนักงานระบายน้ำ , กรมอุทกศาสตร์ , กรมอุตนิยมฯ , กรมชลประทาน เป็นต้น โดยการทดสอบเราได้แบ่งออกเป็น 2 วัน โดยแยกเป็นกทม.ฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออก คือ วันที่ 5 ก.ย.จะเริ่มที่ฝั่งตะวันตก โดยน้ำต้นมาจากใต้เขื่อนชัยนาท ลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเราจะบังคับน้ำเข้าคลองมหาสวัสดิ์ และเข้ามายังทวีวัฒนา ต่อจากนั้นเราจะแบ่งน้ำออกเป็นสองทาง คือ ทางที่หนึ่งน้ำจะวิ่งเข้างบางเชือกหนัง แล้วไปออกคลองราชมนตรี บางกอกใหญ่ ส่วนอีกทางจะเข้าคลองภาษีเจริญ
อย่างไรก็ตามการปล่อยน้ำครั้งนี้่คำนวณจากขีดความสามารถการระบายน้ำในคลองมหาสวัสดิ์สามารถระบายน้ำได้สูงสุดที่ 60 ลูกบาศก์เมตร/วินาที แต่การทดสอบของเราจะเริ่มต้นที่ 10 ลูกบาศก์เมตร/วินาที แต่จะไม่ให้เกิน 20 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ดังนั้นเรื่องของการที่จะเกิดระดับน้ำล้นออกจากแนวคลองระบายน้ำจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
"สำหรับคำถามที่เกิดขึ้นว่าน้ำที่จะใช้ในการทำการสอบในครั้งนี้จะเอามาจากที่ไหน เรื่องนี้ตนขอชี้แจงว่าน้ำที่ใช้ในการทดสอบครั้งนี้เอามาเขื่อนชัยนาท ซึ่งน้ำดังกล่าวได้มีการเตรียมเอาไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งน้ำทั้งหมดนี้ทางกรมชลประทานได้มีการจัดเตรียมสำรองเอาทั้งหมดแล้ว โดยน้ำทั้งหมดเป็นใต้เขื่อน ไม่ได้เป็นเหนือเขื่อนแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามในการทดสอบครั้งนี้จะทำการทดสอบสองแบบ คือ 1. ทดสอบแบบเปลือยๆ โดยให้น้ำไหลเองตามธรรมชาติ ส่วนแบบที่ 2. คือจะใช้เรือ และเครื่องผลัดดันน้ำมาช่วยผลักดัน ซึ่งจุดที่น้ำไหลผ่านมาจะมีการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์ในการวัดการไหลของน้ำ รวมทั้งจะมีการติดตั้งกล้องซีซีทีวีคลองต่างๆ เพื่อด้วย" นายปลอดประสพ กล่าว
นายปลอดประสพ กล่าวต่อว่า การทดสอบในพื้นที่กทม.ฝั่งตะวันออก
คือ วันที่ 7 ก.ย. นั้น ก็จะใช้วิธีการทดสอบเช่นเดียวกันกับการทดสอบในครั้งแรก ซึ่งการทดสอบจุดนี้จะเริ่มจากคลองระพีพัฒน์แยกตก มาเข้ารังสิตคลองสอง ต่อจากนั้นเข้าคลองลาดพร้าว ต่อจากนั้นจะเข้าสู่บึงมักกะสัน ส่วนอีกเส้นทางหนึ่ง คือ การผันเข้าสู่คลองพระองค์เจ้าฯ และบีบให้เข้าสู่คลองด่าน การดำเนินการทดสอบครั้งนี้เราจะทำการทดสอบอย่างระมัดระวัง ซึ่งหากมีเหตุการณ์อะไรที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาเกิดขึ้น เราจะสั่งหยุดการทดสอบในทันที
"การทดสอบครั้งนี้เราต้องการทดสอบระบบอย่างแท้จริง ผมไม่ได้ต้องการที่จะมาตรวจสอบใคร ทั้งหมดเป็นเรื่องของการดูเส้นทางการระบายน้ำ " นายปลอดประสพ กล่าว
เมื่อถามว่า ที่มีคำถามจากรองผู้ว่าธีรชนม์ ว่า การปล่อยน้ำครั้งนี้ได้มีการดูน้ำในเขื่อนบ้างหรือยังว่าจะมีปริมาณพอใช้ในหน้าแล้งหรือไม่
นายปลอดประสพ กล่าวว่า ขอยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ เรื่องนี้เกี่ยวข้องเฉพาะเขื่อนชัยนาทเท่านั้น โดยน้ำที่ใช้นั้นเป็นน้ำที่อยู่ใต้เขื่อนชัยนาท และล่าสุดในขณะนี้ยังไม่มีรายงานใต้เขื่อนชัยนาทได้เกิดน้ำแล้ง การดำเนินการในเรื่องนี้เราได้ดำเนินการประสานกับทุกฝ่าย โดยกรมชลประทาน เมื่อถามว่า ในการดำเนินการครั้งนี้ได้มีการนำน้ำในเขื่อนป่าสักฯมาใช้หรือไม่ นายปลอดประสพ กล่าวว่า ไม่มีการน้ำในเขื่อนดังกล่าวมาใช้แต่อย่างใด
เมื่อถามว่า นอกจากนี้นายธีรชนม์ยังตั้งคำถามว่า ในช่วงเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาได้มีการนำสิ่งกีดขวางไปขวางคลองระพีระพัฒน์เอาไว้ และถึงตอนนี้ได้มีการนำสิ่งกีกขวางดังกล่าวออกไปแล้วหรือยัง นายปลอดประสพ กล่าวว่า และในการดำเนินการในครั้งนี้ตนก็จะดูอยู่เหมือนกันว่า ที่มีการเบิกงบประมาณเอาไว้แล้ว ได้มีการดำเนินการกันหรือไม่อย่างไร
เมื่อถามว่า ประตูน้ำ 14 บาน เขื่อนอีกกว่า 20 จุด สถานีสูบน้ำ 3 แห่ง ได้มีการซ่อมแซมแล้วหรือยัง
นายปลอดประสพ กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณลงไปให้หมดแล้วตามที่มีการขอมา ดังนั้นในพื้นที่ปลายน้ำในเขตกทม.นั้นทุกอย่างจะต้องดำเนินการเสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 สิงหาคมนี้ และนี่ยังต่อไปให้อีก 4 วัน ดังนั้นขออย่ามาถามตน เพราะหลังจากนี้ตนจะเป็นคนดูว่าทุกอย่างมันเสร็จแล้วหรือยัง งานนี้ไม่มีลูบหน้าปัดจมูก ใครไม่เสร็จสิ้นก็ต้องรับผิดชอบ