สมิทธ ดันสร้าง เขื่อนกั้นน้ำทะเล ป้องกันกทม. สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม จมบาดาล

สมิทธ ดันสร้าง เขื่อนกั้นน้ำทะเล ป้องกันกทม. สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม จมบาดาล

ออกมาพูดเตือน-ให้ข้อมูลประเมินความเสี่ยงทางวิชาการด้ายภัยธรรมชาติทีไร อันต้องกลายเป็น "ข่าวสาร" ที่คนในสังคมไทยต้องเงี่ยหูรับฟังกันให้ดีๆ เพื่อความไม่ประมาท!


 ไม่ใช่ใครที่ไหน ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันนั่งควบตำแหน่งคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) 

 โดยครั้งล่าสุดเมื่อวานนี้ 23 ก.พ. 2555 ดร.สมิทธได้กล่าวระหว่างร่วมวงเสวนาเรื่อง " บทบาทและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการแก้ไขภัยพิบัติธรรมชาติ" ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่า
 ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องนำ "บทเรียน" ภัยพิบัติร้ายแรงในอดีตมาศึกษาข้อถ่วงแท้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอยขึ้นอีก พร้อมกับออกตัวว่าที่ผ่านมาโดนด่าหนักๆ มาโดยตลอดเวลาพูดเตือนอะไรออกไปแล้วเกิดขึ้นบ้าง ไม่เกิดบ้าง.. 

 แต่กระนั้นในครั้งนี้ ดร.สมิทธ ก็ยังมุ่งมั่นในวิถี "กันไว้ดีกว่าแก้" เสนอแนวคิดก่อสร้าง "เขื่อนกั้นน้ำทะเล" เพื่อป้องกันมหาอุทกภัยในอนาคตอีกด้วย โดยแนวคิดและข้อมูลที่ระบุในวงเสวนา มีดังนี้

 ประเทศไทยเคยเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ร้ายแรงมาแล้วหลายครั้ง แต่ไม่เคยนำมาเป็นบทเรียนหรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีก ทั้งจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว สึนามิ 

 ล่าสุดกับมหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นก็เกิดจากการบริหารงานที่ผิดพลาดของมนุษย์

 ไม่ใช่เรื่องภัยธรรมชาติ

 อาจจะมีคนเห็นว่าผมวิพากษ์วิจารณ์มากเกินไป ก็อยากให้ปลดจาก "กยน." จะได้วิจารณ์มากกว่านี้ แม้ตอนนี้จะยังไม่ปลด แต่ก็อาจปลดในอนาคตได้

 ผมเคยเสนอหลายครั้งแล้วว่าการป้องกันน้ำท่วม จะต้องสร้าง เขื่อนกั้นน้ำทะเล จาก จ.ฉะเชิงเทรา ถึงชะอำ จ.เพชรบุรี ระยะทาง 96 ก.ม. 

 เนื่องจากปกติเมื่อเกิดอุทกภัยน้ำจากแม่น้ำหลักทั้ง 3 สาย คือ แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง จะต้องระบายน้ำลงสู่ทะเล 

 แต่หากน้ำทะเลหนุนสูงขึ้นมาสมทบกับปริมาณน้ำจำนวนมหาศาล อาจทำให้ระบายน้ำออกไม่ได้ ปริมาณน้ำก็จะเท่าเดิม เขื่อนที่สร้างนี้จะให้น้ำจืดในแม่น้ำไหลลงมาให้สุดในพื้นที่ที่เตรียมไว้ 

 แล้วจึงเปิดประตูระบายน้ำออกในช่วงที่น้ำทะเลลดลง

นอกจากจะมีประโยชน์ด้านการบริหารจัดการน้ำแล้ว เขื่อนกั้นน้ำทะเล จะเป็น "เส้นทางการคมนาคมแห่งใหม่" จากภาคตะวันออกสู่ภาคใต้ โดยไม่ต้องผ่านกรุงเทพฯ 

 ทั้งหมดนี้ใช้งบประมาณเพียงแค่การก่อสร้างรถไฟฟ้า 1 สายเท่านั้น 

 หากไม่ทำ ภายในปี 2558 พื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม จะถูกน้ำท่วมถาวร เหมือนที่มหาวิทยาลัยฮาเวิร์ดเคยวิจัยไว้

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์