ความคืบหน้า ได้สอบถามไปยังสำนักพยากรณ์อากาศกลางถึงสาเหตุการเกิดเมฆแปลกประหลาดดังกล่าว โดยนายสุรพงษ์ สารปะผู้อำนวยการสำนักพยากรณ์อากาศกลางเปิดเผยว่า ปรากฏการณ์ของเมฆที่เห็นเป็นลักษณะของเมฆที่ก่อตัวเป็นกำแพงขึ้นมาเรียกว่า "เมฆอาคัส" หรือ"เมฆกันชน" ซึ่งจะก่อตัวก่อนจะมีฝนฟ้าคะนอง "เมื่อเมฆฟ้าคะนองมีขนาดใหญ่ซึ่งสังเกตได้จากขนาดและฐานกว้างของเมฆเป็นสัญญาณว่าจะมีลมกระโชกแรงและฝนฟ้าคะนองรวมถึงมีฟ้าผ่าฟ้าแลบเป็นบางครั้งขึ้นอยู่กับความแปรปรวนของสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่การเกิดฟ้าคะนองจะรุนแรงแตกต่างกันถ้าก้อนเดี่ยวๆที่เกิดในหน้าร้อนจะปรากฏให้เห็นประมาณ1ชั่วโมงแต่ถ้าช่วงหน้าฝนเมฆจะจับตัวกันเป็นกลุ่มก้อนปรากฏอยู่ 2-3ชั่วโมงมีฝนตกหนักฟ้าคะนองในช่วงแรกเป็นระลอกแต่จะไม่ตกต่อเนื่องกันและจะเริ่มเบาลงเนื่องจากความแปรปรวนในก้อนเมฆและน้ำในก้อนเมฆลดลง" ผอ.สำนักพยากรณ์กล่าวต่อว่า เมฆฟ้าคะนองเกิดได้ทุกฤดูส่วนใหญ่จะเกิดในฤดูร้อนซึ่งมีฟ้าคะนองรุนแรงอยู่แล้วและช่วงรอยต่อของฤดูจากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝนหรือฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวเนื่องจากเป็นรอยต่อของช่วงฤดูซึ่งอากาศค่อนข้างแปรปรวน.
“เมฆกันชน” สัญญาณเตือน ลมกระโชก-ฟ้าฝนคะนอง รุนแรง
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ภัยพิบัติ “เมฆกันชน” สัญญาณเตือน ลมกระโชก-ฟ้าฝนคะนอง รุนแรง
ขอบคุณภาพจากเพจ : @วารินชำราบบ้านเฮา