จากกรณีแผ่นดินไหวศูนย์กลางทะเลบริเวณตอนใต้ของ อ.เกาะยาว จ.พังงา และเกิดแรงสั่นสะเทือนไปถึง จ.ภูเก็ต และกระบี่ จนทำให้ประชาชนหวาดเกรงว่าจะเกิดสึนามิตามมา
นาย ปัญญา จารุศิริ หัวหน้าหน่วยวิจัยธรณีวิทยาแผ่นดินไหวและธรณีแปรสัณฐานผืนแผ่นดินของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า
เหตุแผ่นดินไหวเมื่อเวลา 4.18 น.เช้าวันที่ 6 พ.ค. ที่รับรู้ได้นานประมาณ 10 วินาทีนั้น เป็นแผ่นดินไหวในระดับที่ไม่ลึกมากและการเกิดแผ่นดินไหวในทะเลมีความรุนแรง น้อยกว่าบนบก ส่วน รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหว จากเป็นรอยเลื่อนด้านข้างที่มีพลังและมีความยาวต่อกันตั้งแต่ในทะเลจน กระทั่งบนบก ซึ่งการเกิดแผ่นดินไหวบนบกของรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยนี้อาจเกิดได้รุนแรงถึง ประมาณ 6 ริกเตอร์ แต่ก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าจะเกิดเมื่อใด เพราะไม่มีสัญญาณบอกล่วงหน้า แต่การเกิดสึนามินั้นไม่น่าจะเกิดได้เนื่องจากความรุนแรงที่จะเกิดสึนามิจะ ต้องรุนแรง 7 ริกเตอร์ขึ้นไป และต้องเป็นรอยเลื่อนย้อน ในขณะที่รอยเลื่อนคลองมะรุ่ยเป็นรอยเลื่อนด้านข้าง
ด้าน ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า
หน่วยงานที่ติดตามเหตุแผ่นดินไหวในประเทศไทย ยืนยันว่าโอกาสเกิดแผ่นดินไหว ใหญ่ที่มีความรุนแรงมากกว่า 7 ในประเทศไทยมีน้อยมาก เนื่องจากแนวรอยเลื่อนมีพลัง 14 รอยในประเทศไทย ล้วนแต่เป็นรอยเลื่อนขนาดเล็ก ส่วนพื้นที่ชายฝั่งอันดามันที่ถือเป็นพื้นที่ใกล้จุดเสี่ยงเกิดคลื่นยักษ์สึนามิเนื่องจากใกล้กับรอยเลื่อนของเปลือกโลกในมหาสมุทรอินเดีย ได้มีการติดตั้งระบบเตือนภัยครอบคลุมในวงกว้าง