สำหรับเรื่องน้ำ รายงานว่า น้ำประปาสกปรก สีค่อนข้างน้ำตาล ไม่สามารถดื่มได้ ต้องรอให้ตกตะกอน น้ำดื่มขาดตลาดขายขวดละ 100 บาท ที่นอนและชุดชั้นในขาดแคลน ขณะที่เรื่องสุขภาพโรงพยาบาลประกาศระดมแพทย์ พยาบาล ทั่วโลกมาช่วย และยังขาดระบบการจัดการข้อมูลผู้ป่วยและระบบคัดแยกผู้ป่วย ตอนนี้พยายามสร้างระบบ 4 ระบบ คือ
ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการประชุมศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว (วอร์รูม) ที่ประเทศเนปาล โดยมี นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยผู้บริหารและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ฉุกเฉิน และให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมพร้อมในการส่งทีมไปช่วยเหลือด้านการแพทย์ที่ประเทศเนปาล แต่เบื้องต้น ในวันพรุ่งนี้จะมีทีมสำรวจนำโดย นพ.สุริยะ วงศ์คงคาเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เดินทางไปล่วงหน้าเพื่อประสานกับสถานทูตไทยในเนปาล และสาธารณสุขประเทศเนปาล ว่า มีความต้องการความช่วยเหลือในลักษณะใดบ้าง ซึ่งในวันที่ 29 เม.ย.น่าจะมีข้อมูลเพียงพอว่าจะส่งทีมช่วยเหลือไปสมทบเป็นทีมใหญ่หรือทีมเล็ก
"การส่งทีมเข้าช่วยเหลือทางการแพทย์ในครั้งนี้ เบื้องต้น ถ้าส่งทีมเล็กไปจะวางแผนปฏิบัติการว่าตั้งโรงพยาบาลสนามที่บริเวณใกล้สถานทูตไทยก่อน แต่หากส่งทีมใหญ่ต้องประสานกับกระทรวงสาธารณสุขเนเปาล เพื่อช่วยเหลือในโรงพยาบาลต่างๆหรือออกช่วยเหลือในพื้นที่ แต่เบื้องต้น ทีมที่จะส่งไปจะต้องไม่เป็นภาระของเนปาล และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยจะมีการเตรียมอุปกรณ์ภาคสนาม อุปกรณ์ทางการแพทย์ ระบบสื่อสาร เครื่องปั่นไฟรวมทั้งอาหาร น้ำดื่มไปเอง"นพ.สมศักดิ์
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีแพทย์ที่แสดงเจตจำนงจะร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นจำนวนมาก และมีคณะแพทย์ศาสตร์ทั้งศิริราช จุฬา รามาธิบดี และ มศว. ว่ามีความพร้อมที่จะเดินทางไป แต่อย่างไรก็ตาม การจัดทีมแพทย์จะต้องขึ้นอยู่ข้อมูลภาคสนามว่ามีความต้องการในลักษณะใด และอยากให้ผู้ที่จะเดินทางไป หรือต้องการเดินทางไป ประสานกับวอร์รูมกระทรวงสาธารณสุขก่อน ซึ่งจากที่ประเมินขั้นต่ำ การเดินทางเข้าช่วยในครั้งนี้อาจต้องใช้เวลา 1 เดือน จึงต้องมีทีมผลัดเปลี่ยนทีมละ 2 สัปดาห์ ซึ่งขณะนี้ทราบว่าแพทยสภา ได้เปิดลงทะเบียนแพทย์อาสาสมัครแล้ว ซึ่งจะมีการประสานกันต่อไป
นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการณ์ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ทีมที่จะเดินทางไปในพื้นที่ได้ ต้องเป็นทีมที่มีประสบการณ์ ซึ่งมีแพทย์ฉุกเฉินที่มีความพร้อมอยู่ อย่างไรก็ตาม สำหรับแพทย์ที่เดินทางไป ต้องรู้วิธีช่วยเหลือตนเอง เพราะขณะนี้ในพื้นที่มีความยากลำบากการเดินทางไป จึงต้องจำกัดจำนวนและเลือกผู้ที่มีประสบการณ์เพื่อไม่ให้เป็นภาระในการดูแล นอกจากทีมแพทย์ยังมีความต้องการล่ามภาษาฮินดีประมาณ 3-5 คน ซึ่งจะขึ้นทะเบียนไว้ก่อน ทั้งนี้ หากผู้มีข้อมูลในพื้นที่หรือต้องการเข้าร่วมทีมสามารถประสานที่วอร์รูม 02 590 1994